Trading Card Game ในไทยมีอะไรน่าเล่นบ้างนะ

เกมและงานอดิเรก

วันนี้ผู้เขียนจะพานักอ่านทุกคนไปรู้จักกับเกมที่น่าเล่นและกำลังเป็นกระแสอยู่มาในตอนนี้ นั้นก็คือTrading Card Game นั่นเอง Trading Card Game นั่นมีหลากหลายแบบมากเลยค่ะ มีแต่แบบที่น่าเล่นๆทั้งนั่น ซึ่งในไทยก็มีเกมการ์ดมากมายหลายอย่าง ถ้าเอามาทั้งหมดบทความนี้คงจะยาวเกินไป จึงจะหยิบยกอันที่นิยมเล่นกันมาให้รู้จักนะคะ แต่ก่อนจะไปดูว่ามีเกมอะไรน่าเล่นบ้าง เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ Trading Card Game หรือ TCG กันก่อนดีกว่านะคะ

Trading Card Game คืออะไร

Trading Card Game ถ้าแปลแบบตรงตัว คือการ์ดเกมส์ที่สามารถเอามาแลกเปลี่ยนกันได้ หรือก็คือการ์ดที่เอาไปแลกเปลี่ยนกันในแบบที่แลกการ์ดกับการ์ด หรือแลกการ์ดกับเงิน โดยยิ่งเป็นการ์ดที่หายากผลิตออกมาน้อยก็จะยิ่งมีราคาที่สูงตามไปด้วย

มาค่ะหลังจากเราได้ทำความรู้จัก Trading Card Game แบบคร่าวๆกันไปแล้ว ดรามาดูกันดีกว่าว่าในทยมี Trading Card Game อะไรบ้างที่นิยมเล่นกัน ไปดูกันเลยยยย

Vancard


IMG BY : kidzandkai
Vancard หรือแวนการ์ด เป็นเกมการ์ดที่ได้รับความนิยมมากถึงในระดับสากลเลยค่ะ แวนการ์ดได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยบริษัท Bushiroad ประเทศญี่ปุ่นในปี 2011 และถือกำเนิดจากนักเขียนการ์ตูนแนวการ์ดเกมชื่อดัง คือ อาจารย์ อากิระ อิโต้ (Akira Ito) และ อาจารย์ ซาโตชิ นาคามุระ (Satoshi Nakamura) ปัจจุบันมีแวนการ์ดมีทั้งแบบภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และได้มีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการทั่วโลก แถมมีการทำอนิเมชั่นออกมามากมายหลายภาคจนถึงปัจจุบันเลยละค่ะ

แวนการ์ด ได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์นำเข้าโดย บริษัท คิดซ์ แอนด์ คิทซ์ จำกัด (KIDZ & KITZ CO.,LTD) และได้ถูกนำมาแปลเป็นการ์ดภาษาไทยในช่วงปี พ.ศ.2556 และได้เปิดตัวที่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 18 วันที่ 16-27 ต.ค. 56 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ค่ะ

หลังจากนั้น แวนการ์ด ในไทยก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีการแข่งขัน Cardfight!!Vanguard Thailand Championship ครั้งที่ 1 ที่งาน Capsule Event ครั้งที่ 27 ณ อาคารรักตะกนิษฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557 โดยมีรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศญี่ปุ่นพร้อมที่พักฟรี ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันถึง 350 คนเลยล่ะ

Zone ต่างๆในการเล่น

  • ดรอปโซน (เป็นที่ทิ้งการ์ดที่ใช้งานแล้ว) คุณจะต้องแยกไว้อีกกองการ์ดไว้อีกหนึ่งกองจากเด็ค เมื่อคุณรีไทร์การ์ดใบใดใบหนึ่ง คุณจะต้องย้ายการ์ดใบนั้นไปที่ดรอปโซน แค่เมื่อใดที่คุณฮีลดาเมจ คุณจะต้องย้ายการ์ดใบนั้นจากดาเมจโซนไปยังดรอปโซน
  • ดาเมจโซน เป็นกองที่รวมการ์ดที่ใช้งานไม่ได้ จะต้องอยู่คนละกองกับกองการ์ด ดรอปโซน การ์ดในดาเมจโซนจะแสดงถึงดาเมจของแวนการ์ดของคุณ หากคุณมีการ์ดในดาเมจโซนของคุณ 6 ใบหรือมากกว่า คุณจะแพ้เกมนั้น
  • เจเนอร์เรชั่นโซน ในโซนนี้จะสามารถวางการ์ดที่เป็นเจเนอร์เรชั่นยูนิตแบบคว่ำหน้าไว้ได้ไม่เกิน 8 ใบ สำหรับทำการสไตรด์หรือการช่วยเหลือเกรด (เจเนอร์เรชั่นยูนิตจะไม่นับว่าอยู่ในเด็คหลัก และจะใส่เจเนอร์เรชั่นยูนิตที่มีชื่อการ์ดเหมือนกันได้ไม่เกิน 4 ใบ)
  • สนามหลักของผู้เล่นแต่ละคนจะมีสองแถว แถวละสามช่อง แถวที่อยู่ใกล้ผู้เล่นอีกฝ่าย เรียกว่าแถวหน้า และอีกแถวหนึ่งเรียกว่าแถวหลัง
  • แวนการ์ดเซอร์เคิล ก็คือช่องตรงกลางในแถวหน้า สามารถวางการ์ดในช่องนั้นได้มากกว่าหนึ่งใบ การ์ดใบบนสุดของแวนการ์ดเซอร์เคิลคือแวนการ์ดของคุณ การ์ดอื่นๆข้างใต้นั้น เรียกว่าโซล แวนการ์ดของคุณไม่ใช่ส่วนหนึ่งของโซล ถ้ามีการ์ดเพียงใบเดียวบนแวนการ์ดเซอร์เคิล การ์ดนั้นคือแวนการ์ดของคุณ และคุณไม่มีโซลเลยแม้แต่ใบเดียว อีกห้าช่องที่เหลือเรียกว่าเรียร์การ์ดเซอร์เคิล ช่องเหล่านั้นจะมีการ์ดวางอยู่ได้เพียงใบเดียวต่อช่องเท่านั้น
  • ทริกเกอร์โซน คือบริเวณที่การ์ดจะถูกวางลงเมื่อความสามารถของมันกำลังจะแสดงผล มันจะอยู่ตรงไหนนั้นไม่สำคัญ หากกำลังทำการไดร์ฟเช็ค คุณจะต้องย้ายการ์ดจากใบบนสุดของเด็คไปยังทริกเกอร์โซน และย้ายการ์ดนั้นไปยังมือของคุณหลังจากนั้น หากคุณกำลังทำดาเมจเช็ค คุณจะต้องย้ายการ์ดจากใบบนสุดของเด็คไปยังไว้ยังทริกเกอร์โซน และจากนั้นค่อยย้ายการ์ดนั้นไปยังดาเมจโซน
  • การ์เดี้ยนเซอร์เคิล เป็นที่ที่การ์ดจะถูกวางลงในช่วงการต่อสู้ โดยทั่วไปจะอยู่ด้านหน้าของแถวหน้า การ์ดเหล่านี้จะมีผลขณะการต่อสู้ และถูกรีไทร์ไปยังดรอปโซนหลังจากนั้น คุณสามารถกาด(Guard/ป้องกัน) ได้โดยการใช้ยูนิตที่มีเกรดเท่ากับหรือต่ำกว่าแวนการ์ดของคุณเท่านั้น

จุดเด่นของแวนการ์ด

  • ลายบนการ์ดตามในอนิเมะ
  • การ์มีลวดลายที่สวยงามน่าสะสม
  • การ์ดแต่ละใบมีความสามารถที่ต่างกัน
  • เป็นการ์ดเกมที่นิยมเล่นกันมากๆทั้งในไทยและต่างประเทศ

สเปคของการ์ดแวนการ์ด

จำนวนการ์ดในกอง 50 ใบ
เงื่อนไขในการจัดการ์ด ในการ์ด 1 กองจะมีการ์ดได้ทั้งหมด 50 ใบ,ใส่การ์ดที่ชื่อเหมือนกันได้ไม่เกิน 4 ใบ ใน 1 เด็ค,ต้องมีทริกเกอร์ 16 ใบพอดี,ฮีลทริกเกอร์และพิทักษ์ไม่สามารถใส่เกิน 4 ใบ
เงื่อนไขในการชนะ 2 วิธี โดยคู่แข่งได้รับ 6 ดาเมจหรือการ์ดของคู่แข่งหมดกอง

Pokemon card game


IMG BY : siamstyle
หรือ การ์เกมโปเกมอน นั่นเอง โดยเป็นเกมการ์ดสะสม (collectible card game) ของแฟรนไชส์โปเกมอน วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) โดยบริษัท ครีเซอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบันการ์ดเกมโปเกมอนในประเทศไทย ได้มีลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด นำเข้าโดยบริษัท ดี ซูพรีม จำกัด จัดจำหน่ายโดยบริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด
วางจำหน่ายครั้งแรกที่งานเปิดตัวการ์ดเกมโปเกมอน PokemonTCG 1st Impact Challenge ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 วางจำหน่ายตามร้านการ์ดทั่วประเทศ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และวาง
จำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดเด่นของการ์ดโปเกม่อน

  • ตัวละครมาจากเรื่องโปเกม่อน
  • การ์ดลายน่ารักน่าสะสม
  • การ์ดแต่ละใบความสามารถต่างกัน
  • มีการแพ้ธาตุบนการ์ดตามในอนิเมะ

สเป็คของการ์ดโปเกมม่อน

จำนวนการ์ดในกอง 60 ใบ
เงื่อนไขในการจัดการ์ด การ์ดชื่อเดียวกันใส่ในสํารับได้ไม่เกิน 4 ใบ,การ์ดพลังงานพื้นฐานสามารถใส่กี่ใบก็ได้,ต้องใส่การ์ด [โปเกมอนพื้นฐาน] มากกว่า 1 ใบขึ้นไป,วางการ์ดรางวัล 6 ใบแล้วเริ่มเกม
เงื่อนไขในการชนะ ทำให้ HP ของโปเกมอนฝ่ายตรงข้ามเป็นศูนย์โดยโปเกมอนที่ HP เป็นศูนย์จะหมดสภาพ เมื่อทําให้ฝ่ายตรงข้ามหมดสภาพได้ 1 ตัว เราจะหยิบการ์ดรางวัลได้ 1 ใบ เมื่อหยิบการ์ดรางวัลได้หมดก่อนก็จะชนะ

YU KI O


IMG BY : metalbridges
ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม เป็นเกมการ์ดสะสม (collectible card game) ของแฟรนไชส์ เกมกลคนอัจฉริยะนั่นเอง ได้มีการเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยบริษัท โคนามิ ในประเทศญี่ปุ่น และในปัจจุบันการ์ดเกมยูกิโอในประเทศไทย ยังไม่ได้มีลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการค่ะ แต่มีการนำเข้าการ์ดลิขสิทธิ์แท้จากต่างประเทศ โดยการ์ดภาษาญี่ปุ่น
เดิมมีบริษัท NIDA เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่ปัจจุบันบริษัท คิดซ์ แอนด์ คิทซ์ จำกัด ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายแทน

เกมการ์ดยูกิโอเป็นเกมการ์ดที่ใช้ผู้เล่น 2 คน โดยนำเด็คการ์ด (สำรับไพ่, กองการ์ด) ของตน ที่จัดขึ้นอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขของเกม มาต่อสู้กัน ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องทำการสับเด็คการ์ดและจั่วการ์ดขึ้นมาคนละ 5ใบ ก่อนจะเริ่มการเล่นแบบสลับกันคนละเทิร์นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ

จุดเด่นของการ์ด YU KI O

  • เป็นการ์ดที่มาจากเรื่อง YUKIO
  • มีลวดลายสวยงามน่าสะสม
  • มีการใช้ไอเทมต่างๆของการ์ด
  • การ์ดมีความสามารถที่ต่างกัน
  • มีการคอมโบการ์ดหลากหลายแบบ

สเป็คของการ์ด YU KI O

จำนวนการ์ดในกอง 40-60 ใบ
เงื่อนไขในการจัดการ์ด Extra Deck จำนวน 0-15 ใบ Side Deck จำนวน 0-15 ใบ
เงื่อนไขในการชนะ ผู้เล่นจะแพ้หากพลังชีวิตเหลือศูนย์
หากผู้เล่นทั้งคู่มีพลังชีวิตถึงศูนย์พร้อมกัน เกมก็จะจบลงด้วยผลเสมอ
แต่ถ้าหากจำเป็นต้องจั่วการ์ด แต่ไม่มีการ์ดให้จั่วในเด็คหลักจะก็ถือว่าแพ้เชน้นกันค่ะ
หรือการ์ดบางใบมีเงื่อนไขพิเศษที่ทำให้ชนะหรือแพ้ได้โดยอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไข
(เช่น มีไพ่ Exodia the Forbidden One ทั้งห้าใบอยู่ในมือ หรือทั้งห้าตัวอักษรของ Destiny Board บนสนาม)

ONE PIECE CARD GAME

IMG BY : metalbridges
สำหรับONE PIECE CARD GAME เป็นการ์ดเกมน้องใหม่ที่พึ่งเปิดตัวมาแถมกระแสตอบรับยังดีมากๆเลยด้วย โดยปัจจุบันได้วางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้วใน 40 ประเทศทั่วโลก มาในรูปแบบของชุดสตาร์ตเตอร์พร้อมเล่น 4 แบบ ได้แก่

  • ST-01 : ลูฟี่ จากเด็ค “โจรสลัดหมวกฟาง”
  • ST-02 : คิด จากเด็ค “ยุคสมัยเลวร้ายที่สุด”
  • ST-03 : ไคโด จากเด็ค “โจรสลัดร้อยอสูร”
  • ST-04 : คร็อคโคไดล์ จากเด็ค “เจ็ดเทพโจรสลัด”

ซึ่งบอกเลยว่าหาซื้อยากมากเพราะหมดสต็อกเร็วจนต้องพรีออเดอร์กันเลยทีเดียว
นอกจากจะพามาให้รู้จักแล้วเราจะพาเพื่อนๆมาเรียนรู้วิธีการเล่นคร่าวๆกันนะคะ
โดยวิธีการเล่น ONE PIECE CARD GAME มีดังนี้

ช่วงเตรียมตัว

ผู้เล่นจะต้องสับการ์ด และวางลีดเดอร์การ์ดลงบนลีดเดอร์แอเรีย และทำการกาผู้ที่จะเริ่มเล่นก่อน จากนั้นการ์ดขึ้นมาคนละ 5 ใบ (สามารถใส่การ์ด 5 ใบที่จั่วได้กลับไปใบเด็คและสับใหม่ จากนั้นจั่วการ์ดใหม่ 5 ใบอีกครั้งได้) จากนั้นวางการ์ดตามจำนวนไลฟ์ของการ์ดลีดเดอร์

  • เฟสที่ 1 รีเฟรชเฟส – นำ DON การ์ดทั้งหมดบนสนามของเรากลับคอสต์แอเรีย แล้วนำการ์ดทุกใบกลับสู่สภาพแอคทีฟ (หันการ์ดเป็นแนวตั้ง)
  • เฟสที่ 2 ดรอว์เฟส – จั่วการ์ด 1 ใบจากเด็ค (ผู้เล่นที่ได้เริ่มก่อนจะไม่ได้จั่วการ์ดจากเด็คของตนในเทิร์นแรก)
  • เฟสที่ 3 DON เฟส – วาง DON การ์ด 2 ใบจาก DON เด็คลงบนคอสต์แอเรีย (ในเทิร์นแรกของผู้เริ่มก่อนจะได้วาง DON การ์ดเพียงใบเดียว)
  • เฟสที่ 4 เมนเฟส – ผู้เล่นสามารถเลือกทำได้ดังนี้
  • เรสต์ DON การ์ดบนคอสต์แอเรีย จากนั้นส่งคาแรกเตอร์การ์ดจากมือลงสู่แบทเทิลแอเรีย (คาแรกเตอร์จะยังไม่สามารถโจมตีได้ในเทิร์นแรกที่ลงสู่สนาม) , เล่นอีเวนต์การ์ดจากบนมือ (การ์ดอีเวนต์จะถูกส่งลงแทรชทันทีหลังเล่นเสร็จ) หรือเล่นสเตจการ์ดจากบนมือ
  • สั่งใช้งานความสามารถต่าง ๆ ของการ์ด ได้แก่นำ DON การ์ดที่อยู่ในสภาพแอคทีฟมาสวมให้กับการ์ดคาแรกเตอร์ หรือการ์ดลีดเดอร์ ซึ่งสามารถทำกี่ใบก็ได้ (พลังของการ์ดจะเพิ่มขึ้น 1,000 หน่วย ต่อการ์ด DON 1 ใบที่ติดอยู่)

โจมตี

ซึ่งในช่วงนี้จะเริ่มเข้าสู่แบทเทิล ซึ่งจะมี 6 การแบทเทิลประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนย่อยได้แก่

  • ขั้นตอนย่อยที่ 1 การประกาศการโจมตี
  • ขั้นตอนย่อยที่ 2 การบล็อคสเต็ป
  • ขั้นตอนย่อยที่ 3 เคาน์เตอร์สเต็ป
  • ขั้นตอนย่อยที่ 4 ดาเมจสเต็ป
  • ขั้นตอนย่อยที่ 5 ทริกเกอร์สเต็ป
  • ขั้นตอนย่อยที่ 5 ทริกเกอร์สเต็ป
  • ขั้นตอนย่อยที่ 6 จบการแบทเทิล

เฟสที่ 5

เอนด์เฟส – สั่งใช้งานความสามารถที่แสดงผลตอนจบเทิร์น จากนั้นจะเริ่มเทิร์นของอีกฝ่าย

จุดเด่นของONE PIECE CARD GAME

เป็นการ์ดที่มาจากเรื่อง ONE PIECE
มีเด็ดให้เล่นหลายแบบ
แต่ละเด็คจะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป

สเป็คของONE PIECE CARD GAME

จำนวนการ์ดในกอง การ์ด 61 ใบ
เงื่อนไขในการจัดการ์ด การ์ดธรรมดา 50 ใบ การ์ดพลังงาน 10 ใบ และการ์ดตัวละครหลักอีก 1 ใบ
เงื่อนไขในการชนะ ผู้เล่นจะชนะได้ก็ต่อเมื่อการ์ดลีดเดอร์แต้มเป็น 0 หรือการ์ดฝ่ายตรงข้ามหมดเด็ค

เป็นอย่างไรบ้างคะ Trading Card Game ที่นำมาแนะนำกันในวันนี้น่าเล่นทุกแบบเลยเลยใช่มั้ยคะ โดยเฉพาะ ONE PIECE CARD GAME น้องใหม่มาแรง เรียกได้ว่าหาซื้อกันไม่ทันเลยทีเดียว และเกมการ์แวนการ์ดที่เป็นที่นิยมมานานอีก มีการจัดการแข่งขันในไทยอยู่ตลอดเลยล่ะค่ะ หากนักอ่านท่านใดสนใจอยากจะลองเข้าแข่งขันดูละก็ ก็อย่ารอช้าเลยนะคะ รีบไปฝึกฝีมือแล้วชวนเพื่อนๆมาปะลองฝีมือกันเลย
สำหรับบทความในวันนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้แล้วพบกันบทความหน้านะคะ หากมีอะไรผิดพลาดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะบ๊ายบายย

Team FAV

ทางทีมงานแอดมินทำเวปไซต์ Fav a good time นี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของทางออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ทางทีมงานของเราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคค่ะ ทำให้การตัดสินใจซื้อมีข้อมูลมากขึ้นคะ

Profile