7 ภาพยนตร์ไทยสุดปัง สร้างจากเรื่องจริงสุดสะพรึง
ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง มีมากมายหลายเรื่อง ทั้งภาพยนตร์จากประเทศไทยและต่างประเทศ ล้วนมีเสน่ห์น่าติดตามอย่างมาก แม้แต่ภาพยนตร์ทำเงินก็นิยมสร้างที่แปลกใหม่เพื่อตอบโจทย์ผู้ชมมากขึ้น ไม่ว่าจะชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ และในช่องทางสตรีมมิ่งหลายๆ ช่องทางด้วยกัน ซึ่งภาพยนตร์ไทยที่สร้างจากเรื่องจริง ก็ติดอันดับความนิยมไม่น้อยหน้าใคร โดยในบทความนี้จะมาแนะนำภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงที่สะเทือนผู้ชมมากเลยทีเดียว โดยจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ต้องไปดูกันเลย แล้วคุณล่ะมีภาพยนตร์ไทยเรื่องไหนในดวงใจล่ะ
7 สุดยอดภาพยนตร์ไทย จากเรื่องจริงในไทย
ภาพยนตร์เรื่อง “ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน”
ประเดิมเรื่องแรกของภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติจาก “พายุโซนร้อนแฮเรียต” ปี พ.ศ. 2520 โดยเป็นเรื่องราวของแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มากมาย โดยการถ่ายทอดภาพยนตร์สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิม และชาวไทยพุทธประจำหมู่บ้านในแหลมตะลุมพุก แถมเทคนิคการถ่ายทำมีความระทึกขวัญ สมจริง เผยนาทีเอาชีวิตรอด ให้ความรู้สึกทั้งมีความหวังและสิ้นหวังพร้อมๆ กัน จึงเป็นภาพยนตร์สร้างจากเรื่องจริงของประเทศไทยที่ไม่ควรพลาด
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน”
- เป็นการนำเทคนิค CG มาใช้ในการถ่ายทำที่ดีมากในยุคนั้น
- สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ และไทยมุสลิม
- สะท้อนถึงความเสียหายของความรุนแรงจาก “พายุโซนร้อนแฮเรียต”
- เป็นภาพยนตร์อยู่ในกลุ่มโศกนาฏกรรม
- สะท้อนความเหลื่อมล้ำของประเพณีได้เป็นอย่างดี เช่น ประเด็นศาสนา ความไม่เสมอภาคทางเพศ
- Soundtrack ในตอนท้ายเรื่องมีความขนลุกมาก
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน”
- บทภาพยนตร์มีความไม่สมเหตุสมผล ขาดรายละเอียดสำคัญบางจุดไป
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน”
วันที่ออกฉาย | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, ภัยธรรมชาติ |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบทเป็น จ่าช่าง ธันญ์ ธนากร รับบทเป็น พร้าว ศศิธร พานิชนก รับบทเป็น ซากีนะห์ ม.ร.ว.มงคลชาย ยุคล รับบทเป็น ซอและ พรหมพร ยูวะเวส รับบทเป็น กุลสตรี |
เรตติ้งภาพยนตร์ | – |
ภาพยนตร์เรื่อง “คืนบาป พรหมพิราม”
อีกเรื่องที่ใครๆ หลายคนต่างจิตตกกันทั้งบางกับภาพยนตร์จากคดีสุดสะเทือนขวัญในปี พ.ศ.2520 อย่างเรื่อง “คืนบาป พรหมพิราม” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่นำคดีข่มขืนและอำพรางศพ พร้อมจับกุมผู้ต้องหานับ 30 คน ถูกดำเนินคดีเพียง 8 คน ที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยการถ่ายทำต้องเปลี่ยนไปถ่ายทำที่จังหวัดอุทัยธานี เพื่อเลี่ยงประเด็นขัดแย้งกับชาวบ้าน โดยคดีเหล่านี้เป็นตราบาปมายาวนานต่อชาวบ้านในละแวกนั้นมาหลายสิบปี และยังได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ ปี พ.ศ. 2546 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “คืนบาป พรหมพิราม”
- เป็นภาพยนตร์ที่เสียดสีเรื่องจริง เนื่องจากผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับคดี เป็นลูกหลานคนมีสี ช่องโหว่ของรูปคดี และช่วยกันปกปิดความผิดให้พวกเดียวกันเอง
- การถ่ายทอดบทบาทของ “พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์” ทำได้ดีมาก จนรู้สึกสงสารนักแสดงไปในตัว
- ในสมัยก่อน การเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟเป็นเรื่องพบบ่อย แต่ในคดีนี้เป็นการอำพรางศพ
- นอกจากเนื้อเรื่องแล้ว การลำดับภาพมีความระทึกขวัญ และหดหู่ไปพร้อมๆ กัน
- ได้รางวัลสุพรรณหงส์ในปีนั้นแบบสมราคา
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “คืนบาป พรหมพิราม”
- ฉากข่มขืนรุนแรงมาก
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “คืนบาป พรหมพิราม”
วันที่ออกฉาย | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, สยองขวัญ |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ รับบทเป็น หญิงสาวปริศนา กมล ศิริธรานนท์ รับบทเป็น ผู้หมวดหนุ่ม สมภพ เบญจาธิกุล รับบทเป็น สารวัตรใหญ่ |
เรตติ้งภาพยนตร์ | 7.2/10 |
ภาพยนตร์เรื่อง “เชอรี่แอน”
อีกภาพยนตร์ที่ตีแผ่ด่างพร้อยของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นคดีจับแพะในคดีสูงสุดในประวัติศาสตร์อย่าง “คดีเชอรี่แอน” สาวลูกครึ่งไทย-อเมริกันวัย 16 ปี โดยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “เชอรี่แอน” ในเรื่องตอกย้ำด้านมืดของจิตใจคนและความโหดร้ายที่กระทำต่อเด็กสาวผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นคดีสะเทือนขวัญเมื่อปี พ.ศ. 2529 เธอได้หายตัวไป และพบศพริมป่าแสมในถนนสุขุมวิทเก่า ย่านบางปูทั้งชุดนักเรียน โดยคดีนี้เสียดสีกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมาหลายสิบปี ที่ผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้มีหน้ามีตาในสังคม พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และการบกพร่องในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “เชอรี่แอน”
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเปิดตัวนักแสดงดาวรุ่ง “แอนนี่ บรู๊ค” ซึ่งเธอเป็นนักแสดงลูกครึ่งไทย-อเมริกันเหมือนเชอรี่แอนจริงๆ
- สะท้อนถึงตัณหาที่ไม่รู้จักพอของผู้ชาย ที่ทำลายอีกคนได้โดยไม่คาดคิด
- สะท้อนถึงการจับแพะในคดีที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ และเผยภาพการซ้อมทรมานผู้ต้องหา
- การลำดับภาพยนตร์ทำได้ยอดเยี่ยม
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “เชอรี่แอน”
- ฉากการซ้อมทรมานผู้ต้องหามีความรุนแรง
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “เชอรี่แอน”
วันที่ออกฉาย | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, สยองขวัญ |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | แอนนี่ บรู๊ค รับบทเป็น เชอรี่ แอน ดันแคน ศักราช ฤกษ์ธำรง รับบทเป็น วิชัย |
เรตติ้งภาพยนตร์ | – |
ภาพยนตร์เรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน”
ภาพยนตร์สร้างจากเรื่องจริงที่ขึ้นหิ้งอย่าง “14 ตุลา สงครามประชาชน” โดยเป็นภาพยนตร์ที่มีความพิเศษตรงที่ผู้เขียนบทคือ “เสกสรร ประเสริฐกุล” อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้รางวัลนักเขียน “รางวัลศรีบูรพา” โดยเขาเป็นแกนนำชุมนุมใน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ “วันมหาวิปโยค” ซึ่งเป็นยุคการขับไล่เผด็จการด้วยการแสดงรวมพลังนักศึกษา และเกิดเหตุนองเลือดมากมาย ความยากของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยากในเรื่องการคัดเลือกนักแสดง โดยจะต้องเลือกนักแสดงที่คล้ายกับ “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” และ “จีระนันท์ พิตรปรีชา” ให้มากที่สุด
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน”
- เป็นการถ่ายทำแนวสารคดี ซึ่งคล้ายคลึงกับเทคนิคของภาพยนตร์เรื่อง “ร่างทรง” โดยให้กลิ่นอายยุค 2516 อย่างชัดเจน
- การคัดเลือกนักแสดงเหมือนกับ “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” และ “จีระนันท์ พิตรปรีชา” ราวกับตัวจริง
- สะท้อนถึงความรักของ “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” และ “จีระนันท์ พิตรปรีชา” อย่างแน่นแฟ้น
- การลำดับภาพมีความทันสมัยและมีความย้อนยุคในเวลาเดียวกัน
- เป็นการเรียกร้องสิทธิ และเสรีภาพที่ได้รับชัยชนะครั้งแรกของโลก
- สะท้อนถึงพลังหนุ่มสาวที่ขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างแท้จริง
- ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน”
- เป็นภาพยนตร์ที่เป็น Master Piece ที่ไม่มีใครทำ Remake ได้อีกแล้ว
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน”
วันที่ออกฉาย | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, ดราม่า |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | ภาณุ สุวรรณโณ รับบทเป็น เสกสรรค์ ประเสริฐกุล “สหายไท” พิมพรรณ จันทะ รับบทเป็น จีระนันท์ พิตรปรีชา “สหายใบไม้” |
เรตติ้งภาพยนตร์ | 7.0/10 |
ภาพยนตร์เรื่อง “2499 อันธพาลครองเมือง”
เรียกได้ว่าเป็น Master Piece แห่งตำนานภาพยนตร์ Gangster ทำเงินอันดับต้นๆ ของเอเชีย หากใครได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “2499 อันธพาลครองเมือง” จากงาน “กรุงเทพฯ กลางแปลง” จะรู้ทันที่ว่านี่เป็นภาพยนตร์ที่สาวกของ “พี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี” เป็นพระเอกของเรื่องในบทหัวหน้าแก๊งไบเล่ ที่มี “เจมส์ ดีน” นักร้องชาวอเมริกันในยุคนั้นเป็นไอดอลประจำดวงใจ และพี่ติ๊กถ่ายทอดความเป็น “แดง ไบเล่” ที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยภาพยนตร์สร้างจากเรื่องจริงของ “แดง ไบเล่” ซึ่งอัตชีวประวัติของเขาทำให้กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาล โดยทำรายได้ไปทั้งหมด 75 ล้านบาท
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “2499 อันธพาลครองเมือง”
- เป็นภาพยนตร์ที่เปิดตัวในงานประกวดภาพยนตร์อิสระ ที่ประเทศเบลเยี่ยม
- ได้รางวัลสุพรรณหงส์ในปีนั้นแบบสมราคา โดยได้สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- การถ่ายทอดนักแสดงมีความสมจริง และตรงไปตรงมา มีความเป็นนักเลงเลือดร้อนอย่างแท้จริง
- เป็นภาพยนตร์ทำเงินในประวัติศาสตร์ของเอเชีย โดยทำเงินในบ้านสูงกว่าภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่อง “ผู้หญิงข้า…ใครอย่าแตะ” โดยทำสูงถึง 75 ล้านบาท
- เป็นภาพยนตร์ Gangster ขึ้นหิ้ง และเป็นเรื่องเดียวที่สร้างจากเรื่องจริง
- เป็นการแจ้งเกิดของ “เจษฎาภรณ์ ผลดี”
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “2499 อันธพาลครองเมือง”
- เป็นภาพยนตร์ที่เป็น Master Piece ที่ไม่มีใครทำ Remake ได้อีกแล้ว
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “2499 อันธพาลครองเมือง”
วันที่ออกฉาย | 11 เมษายน พ.ศ. 2540 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, แอคชั่น |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | เจษฎาภรณ์ ผลดี รับบทเป็น แดง ไบเล่ อรรถพร ธีมากร รับบทเป็น เปี๊ยก วิสุทธิ์กษัตรีย์ ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ รับบทเป็น ปุ๊ ระเบิดขวด แชมเปญ เอ็กซ์ รับบทเป็น วัลลภา |
เรตติ้งภาพยนตร์ | 7.5/10 |
ภาพยนตร์เรื่อง “ซีอุย”
อีกเรื่องที่สะเทือนคนทั้งบาง และเสียดสีข้อเท็จจริงกับเรื่องของ “ซีอุย” ชายชาวจีนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่สู่ประเทศไทย โดยหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งเดียวที่เขามีคือมีดที่สืบทอดมาจากแม่ของเขา นั่นคือสิ่งที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่เขาคิด เขาถูกรังแกและอับอายขายหน้าจากทุกคนรอบตัวเขา เขาพยายามอย่างยิ่งที่จะอยู่รอดในโลกนี้ และนำไปสู่การเกี่ยวข้องกับคดีสังหารเด็ก แน่นอนว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้พ่อแม่หลายคนมักใช้มุกนี้พูดกับเด็กกันว่า “อย่าออกไปไหน เดี๋ยวซีอุยมา” ซึ่งอิทธิพลเรื่องนี้กลายเป็นที่พูดถึงในสังคม จนกระทั่ง “ซีอุย” ซึ่งไม่มีลมหายใจและเป็นแพะรับบาปมานานแล้ว ถูกปลดออกจากความเป็น “มนุษย์กินคน” โดยสิ้นเชิง
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “ซีอุย”
- เป็นการเปิดตัวนักแสดงเจ้าบทบาทโดย “ต้วนหลง” นักแสดงจากแผ่นดินใหญ่ผู้มีผลงานมากมาย
- ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ 2547 เป็นเวอร์ชั่นที่ขนลุกที่สุด เนื่องจากเวอร์ชั่นก่อนใช้คนไทยแสดง แต่เวอร์ชั่นภาพยนตร์เป็นนักแสดงจากแผ่นดินใหญ่จริงๆ
- กุศโลบายของภาพยนตร์เป็นการป้องกันเด็กหาย
- สะท้อนของชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากของชาวจีนที่อพยพมาในประเทศไทยชัดเจน
- นักแสดงถ่ายทอดบทบาทดราม่าได้สมจริง
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “ซีอุย”
- เนื้อหาภาพยนตร์ เป็นการ Bias ทางซีอุยฝ่ายเดียว โดยมองว่าเป็นบุคคลร้ายกาจ
- ไม่มีข้อเท็จจริงด้านคดีเป็นรูปธรรมนัก แต่กลายเป็นคนบาปมานาน 60 ปี
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “ซีอุย”
วันที่ออกฉาย | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, สยองขวัญ |
ภาษา | ภาษาไทย, ภาษาจีน |
นักแสดง | ต้วนหลง รับบทเป็น ซีอุย เปรมสินี รัตนโสภา รับบทเป็น ดารา ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบทเป็น สันติ |
เรตติ้งภาพยนตร์ | 5.8/10 |
ภาพยนตร์เรื่อง “ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ”
มาถึงภาพยนตร์จากเรื่องจริงในประวัติศาสตร์เรื่อง “ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ” ของผู้กำกับ “ยุทธนา มุกดาสนิท” ผู้ที่เคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง “น้ำพุ” ปี พ.ศ. 2527 และคู่กรรม ปี พ.ศ.2538 โดยเนื้อหาภาพยนตร์เกี่ยวกับยุวชนทหาร โดยเป็นกลุ่มเยาวชน ที่เข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยป้องกันชาติ และมีบทบาทสำคัญในช่วงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นเหตุการณ์ที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร ณ เชิงสะพานท่านางสังข์ และตัวละครในภาพยนตร์ ล้วนมีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยในฐานะยุวชนทหารอีกด้วย
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง “ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ”
- เป็นการนำความสดใสของเยาวชนทั้งในช่วงสวมชุดนักเรียน และในฐานะยุวชนทหารได้ลงตัว
- ตัวละครเป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ เช่น บทของสนั่น ชุมวรฐายี เป็นทั้งยุวชนทหาร และเป็นอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนศรียาภัย
- บทภาพยนตร์มีความละเอียด สมจริง ลงตัวและมีความทันสมัย
- สะท้อนถึงวิถีชีวิต และยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอย่างดี
- เป็นภาพยนตร์แจ้งเกิดของ “รุ่งเรือง อนันตยะ” นักแสดงจากละครซิตคอมเรื่อง “รักแปดพันเก้า” และ “ณัฐพล ลียะวณิช” ซึ่งเป็นนักแสดงเจ้าบทบาทในเวลาต่อมา
- นักแสดงที่รับบทเป็นทหารญี่ปุ่น เป็นนักแสดงญี่ปุ่นจริงๆ
ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่อง “ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ”
- บทสำคัญในภาพยนตร์ตัดจบเร็วไปหน่อย เช่น บทของร้อยเอกถวิล
รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่อง “ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ”
วันที่ออกฉาย | 28 เมษายน พ.ศ. 2543 |
---|---|
แนว | ระทึกขวัญ, ประวัติศาสตร์ |
ภาษา | ภาษาไทย |
นักแสดง | รุ่งเรือง อนันตยะ รับบทเป็น มารุต ไทยถาวร วรยศ พานิชไตรภพ รับบทเป็น ประยุทธ สมบัติไพบูลย์ รอน บรรจงสร้าง รับบทเป็น ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย รับบทเป็น สิบเอกสำราญ ควรพันธุ์ เทย่า โรเจอร์ รับบทเป็น ชิดชง (ตัวละครสมมุติ) ณัฐพล ลียะวณิช รับบทเป็น บรรจง บัวพึ่ง พงศ์ชาตรี โคกระบินทร์ รับบทเป็น สนั่น ชุมวรฐายี พิธาน คณิวิชาภรณ์ รับบทเป็น สังวาน เลื่อนเชย บัญชา บุญสนอง รับบทเป็น สังเวียน เลื่อนเชย ปริญญ์ เย็นบำรุง รับบทเป็น ประชุม สุยสินธุ์ กฤต กุลพิรัญ รับบทเป็น วัฒนา นิตยนาถ |
เรตติ้งภาพยนตร์ | 7.1/10 |
เป็นไงบ้างสำหรับ 7 อันดับภาพยนตร์ไทยที่สร้างจากเรื่องจริง ซึ่งมีหลายหมวดมากที่มีความระทึกขวัญซ่อนอยู่ อีกทั้งยังติดอันดับในเว็บ imdb ในการรีวิวภาพยนตร์ที่ดีที่สุดระดับโลกที่ถูกพูดถึงโดยนักวิจารณ์ภาพยนตร์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ที่ภาพยนตร์พยายามถ่ายทอดหรือสำรวจบางสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เช่น อาจจะมีบางสิ่งที่เสริมจากเรื่องจริง เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ และภาพยนตร์จะต้องให้สิ่งที่ผู้ชมต้องการอย่างแท้จริง โดยไม่เพียงแค่เป็นภาพยนตร์บังคับให้คนดูสนใจ ต้องการเป็นกระแสขึ้นในทางใดทางหนึ่ง หรือเป็นแค่ดูแล้วออกจากโรงภาพยนตร์เพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามความหายากของภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง มีข้อจำกัดอยู่ที่ “กองเซ็นเซอร์” ที่ยังไม่เปิดกว้างทางคอนเทนต์เท่าที่ควร การรับชมในแนวนี้จึงมีความหายากพอสมควร หากใครมีภาพยนตร์อื่นในดวงใจนอกจาก 7 เรื่องเหล่านี้ สามารถแนะนำกันได้ในบทความนี้นะคะ