แนะนำไม้แบดมินตัน คัดแล้วว่าดีสุด

ไม้แบดมินตัน คัดแล้วว่าดีสุด ปี 2021
กีฬาและการออกกำลังกาย

แบดมินตัน เป็นอีกกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ฮอตฮิตกันในปัจจุบัน ที่เหล่าพ่อแม่ลูกในวันหยุดจะพากันไปคอร์ดแบดหรือ ตีแบดกันหน้าบ้าน อีกทั้งยังสามารถฝึกสมาธิผ่านการเล่นแบดมินตันอีกด้วย ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการคาร์ดิโอที่สนุกมากในหมู่ของวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน บางบ้าน ผู้สูงอายุก็เล่น เพราะเป็นกีฬาที่มีการนับแต้ม และเป็นการใช้สมาธิจ้องลูกแบดตลอดเวลา ทำให้เราสนุกไปกับการออกกำลังกาย เป็นกีฬาที่ทำกันเป็นทีม วันนี้ทาง Fav a good time จะขอนำเสนอไม้แบดที่ดีถูกใจ ให้กับมือสมัครเล่นและนักแบดมืออาชีพ

วิธีการเลือกซื้อไม้แบดมินตัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาโลกแตกสำหรับนักแบดมินตันมือใหม่ คือ การเลือกซื้อไม้แบด เพราะการที่จะตีให้สนุกและมีกำลังใจตีต่อนั้น “ไม้แบด” มีผลเป็นอย่างมาก ดังนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกซื้อไม้แบดให้เหมาะกับผู้ที่เริ่มตีแบดแบบง่ายๆ โดยสเปคต่างๆของไม้แบดนั้นส่วนมากจะระบุไว้ที่ก้านและด้ามจับไม้ และแน่นอนการจะซื้ออะไรก็แล้วแต่ ความรู้ในการเลือกซื้อถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

เลือกจากน้ำหนักของไม้และจุดศูนย์ถ่วง

น้ำหนักไม้ต้องพอดีกับการใช้งานของเรา การใช้ไม้หนักๆโดยเฉพาะไม้แพงหรือไม้ที่นักกีฬานิยมใช้กัน จะทำให้ต้องใช้กำลังมากขึ้นและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย ผู้เล่นใหม่ควรใช้ไม้ 4U ลงมา หรือน้ำหนักไม่เกิน 84 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบและความแข็งแรงของผู้เล่น

  • 2u น้ำหนักอยู่ที่ 90 – 94 กรัม
  • 3u น้ำหนักอยู่ที่ 85 – 89 กรัม
  • 4u น้ำหนักอยู่ที่ 80 – 84 กรัม
  • 5u น้ำหนักอยู่ที่ 75 – 79 กรัม
  • 6u น้ำหนักอยู่ที่ 70 – 74 กรัม
  • 7u น้ำหนักอยู่ที่ 65 – 69 กรัม
  • 8u น้ำหนักอยู่ที่ 60 – 64 กร้ม
  • 9u น้ำหนักอยู่ที่ 55 – 59 กรัม

เลือกจากจุดศูนย์ถ่วงของไม้

โดยทั่วไปไม้แบดแต่ละไม้จะมีจุดศูนย์ถ่วงที่แตกต่างกัน ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่าไม้นี้เหมาะสำหรับการเล่นแบบไหน เราสามารถสังเกตได้โดยการวัดระยะห่างจากปลายด้ามไปจนถึงจุดศูนย์ถ่วง หรือวิธีง่ายๆคือลองนำมาเหวี่ยงดูเพื่อทดลองการใช้งานว่าเราเหมาะกับจุดศูนย์ถ่วงนี้ หรือไม่ก็เปรียบเทียบดูกับอีกไม้เราก็จะสัมผัสได้ว่าไม้นี้เป็นอย่างไร

ไม้หัวเบา (Head Light)

ไม้หัวเบา คือไม้แบดที่มีจุดศูนย์ถ่วงมีระยะน้อยกว่า 280 มม. จุดเด่นของไม้หัวเบา คือ มีความรวดเร็วในการพลิกเปลี่ยนสลับหน้าไม้ เพื่อเปลี่ยนทิศทางของลูกแบด ทำให้ความแคล่วแคล่วดีขึ้น แต่จุดด้อยของไม้หัวเบา คือ ขาดแรงปะทะทำให้ในเกมบุกลูกจะไม่ค่อยมีน้ำหนัก เหมาะกับผู้ที่ชอบเล่นหน้า เน้นเกมรับ เน้นทิศทางและการวางลูก

ไม้หัวหนักปานกลาง (Even/Neutrual)

ไม้หัวหนักปานกลาง คือไม้ที่มีจุดศูนย์ถ่วงมีระยะประมาณ 280 มม. บวกลบไม่เกิน 5 มม. จุดเด่นของไม้หัวหนักปานกลาง คือ เป็นไม้ที่เหมาะทั้งเกมบุกและเกมรับ แต่จุดด้อยของไม้หัวหนักปานกลาง คือ ทำได้ทุกอย่างแต่ไม่สุดสักทาง เหมาะกับผู่เล่นประเภท All Round กับผู้ที่ยังไม่รู้สไตล์การเล่นของตัวเอง

ไม้หัวหนัก (Head Heavy)

ไม้หัวหนัก คือไม้ที่มีจุดศูนย์ถ่วงมีระยะมากกว่า 280 มม. ไม้หัวหนักมีจุดเด่นอยู่ที่การที่หัวไม้มีน้ำหนักมากทำให้เกิดส่งได้มากขึ้น แต่จุดด้อยของไม้หัวหนัก คือ เปลี่ยนหน้าไม้ได้ช้า ทำให้เสียเปรียบลูกดาด เหมาะกับผู้ชอบเล่นเกมบุก เน้นตบ เน้นเซฟและกระชาก

  • ไม้หัวหนักจะเหมาะกับผู้เล่นใหม่มาก เพราะช่วยให้ผู้เล่นตีถึงหลังได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องใช้แรงข้อมือเยอะ
  • การพันด้ามไม้ มีผลต่อจุดศูนย์ถ่วงของไม้เป็นอย่างมาก ควรศึกษาและระวังเป็นพิเศษ

เลือกจากระดับความแข็งของก้านไม้

ก้านไม้แบบยืดหยุ่น (Flexible) ระดับ Soft หรือ Super Flex

เหมาะที่จะเป็นไม้รับหรือวางลูก มีแรงดีดลูกจากหน้าไม้ได้ไวแรงมาก ดังนั้น ไม้แบดประเภทนี้จึงเหมาะที่จะช่วยเสริมให้ดีดส่งลูกไปท้ายคอร์ต การรับลูกตบ เหมาะเป็นลูกโต้ตอบได้ฉับไว โดยเฉพาะลูกดาด แถมไม้แบดประเภทนี้ยังมีก้านไม้ที่ยืดหยุ่นได้ดีอีกด้วย

ก้านไม้แบบยืดหยุ่น (Flexible) ระดับ Medium หรือ Regular

ไม้แบดประเภทนี้มีความแข็งของก้านไม้ปานกลาง สามารถเล่นได้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับได้อย่างคล่องแคล่ว และยังช่วยเสริมในการดีดลูกหน้าไม้ได้ดีอีกด้วย

ก้านไม้แบบยืดหยุ่น (Flexible) ระดับ ระดับ Stiff หรือ Extra Stiff

เหมาะที่จะเป็นไม้รุกในไม้แบดประเภทนี้ เพราะมีการส่งแรงไปที่ข้อมือได้ดี ไม่ว่าจะเป็นลูกตบ ลูกหยอดหน้าข่าย ลูกครึ่งตบครึ่งตัด

เลือกจากความตึงและชนิดของเอ็น

การเลือกเส้นเอ็นและความตึงของไม้แบด ถ้าเป็นผู้ที่เริ่มเล่นสามารถใช้เส้นเอ็นที่มากับไม้แบดได้เลย ซึ่งไม่ได้จะขาดง่ายๆ แต่ถ้าเส้นเอ็นเส้นเล็ก ก็จะทำให้ลูกเด้งง่ายและมีข้อเสียคือ ขาดง่าย แต่ถ้าเส้นใหญ่ ลูกก็จะเด้งยาก คอนโทรลได้ยากกว่า แต่การขาดก็จะยากกว่าเช่นกัน อยู่ที่ความถนัดของเราได้เลย ว่าเราชอบแบบไหน สำหรับผู้เล่นทั่วไปนั้นก็จะขึ้นเอ็นกันที่ 20-21 ปอนด์ ไม้ที่รับได้ 21 ปอนด์ก็เพียงพอ แต่ผู้เล่นที่ฝีมือดีหน่อยก็มักจะชอบเอ็นตึงๆ ขึ้นกัน 22-24 ปอนด์ บางคนขึ้นถึง 28 ปอนด์

เลือกจากวัสดุที่ใช้ทำไม้

ไม้แบดที่ทำจากเหล็กและอะลูมิเนียม

เหล็กและอลูมิเนียม เป็นไม้ที่มีราคาถูกแม้จะทำจากอะลูมิเนียมก็ตาม ก่อนซื้อควรตรวจสอบอย่างละเอียด

ไม้แบดที่ทำจากคาร์บอน

วัสดุนี้เรียกว่า Carbon Graphite ส่วนนี้นิยมใช้ในการทำเฟรม และก้าน ราคาไม้ที่ทำจากวัสดุนี้มีหลากหลายราคา มีทั้งถูกแล้วก็แพง จุดเด่น คือ น้ำหนักเบา และทนทานต่อการใช้งาน

ไม้แบดที่ทำจากไทเทเนียม

วัสดุนี้จะมีน้ำหนักที่เบากว่าไม้ที่ทำจากวัสดุ Carbon จะใช้ทำเฟรมส่วน 9-3 ตามเข็มนาฬิกา ก้านไม้ชนิดนี้จะมีความแข็ง มักนิยมมาทำเป็นเฟรมและเป็นส่วนผสมของไม้แบดที่เป็น Nano Carbon ทำให้ได้ไม้แบดมีคุณภาพดีและเบา แต่แข็งแรง รับแรงกระแทกได้

ไม้แบดมินตัน คัดแล้วว่าดีสุด

ไม้แบดมินตัน Yonex Voltric 10 DG

ไม้แบดมินตัน Yonex Voltric 10 DG

ไม้หัวหนักและก้านแข็ง เหมาะสำหรับผู้เล่นเกมส์รุก มีจุดเด่น คือ การประสานกันของพลังในการตีและการควบคุมแร็คเกตได้อย่างรวดเร็ว

ความยาว 675 mm.
น้ำหนัก 3U (Ave. 88 g)
วัสดุของก้านไม้ H.M. Graphite
วัสดุของเฟรม H.M. Graphite / ULTRA HMG / Tungsten

ไม้แบดมินตัน Victor Jetspeed S 12

ไม้แบดมินตัน Victor Jetspeed S 12

ไม้แบดมินตันคาร์บอน มีน้ำหนักเบาและเพิ่มวิถีการพุ่งตัวของลูกขนไก่ให้เร็วขึ้น มีเทคโนโลยี Hard Cored เสริมความแข็งแกร่งไม่ว่าจะตีหรือตบลูก

ความยาว 675 mm.
น้ำหนัก 3U (Ave. 92 g)
วัสดุของก้านไม้ Hi-Resilient Modulus Graphite / TERS / 6.8 SHAFT
วัสดุของเฟรม Hi-Resilient Modulus Graphite / TERS / HAED CORE TECHNOLOGY

ไม้แบดมินตัน Wilson Blaze S 3700

ไม้แบดมินตัน Wilson Blaze S 3700

โครงสร้างไม้ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ช่วยให้การควบคุมวงสวิงได้อย่างคล่องแคล่ว ช่วยสร้างแรงเหวี่ยงที่ทรงพลัง เพิ่มความมั่นคงช่วยให้มีความแข็งแรงและจังหวะการตีที่แม่นยำมากขึ้น

ความยาว 67.5 cm.
น้ำหนัก 74 g (6U)
วัสดุของก้านไม้ Liquid Crystal Fiber
วัสดุของเฟรม Graphite Cabon Fiber

ไม้แบดมินตัน Kawasaki Conqueror 5320

ไม้แบดมินตัน Kawasaki Conqueror 5320

เป็นไม้ที่ทำมาจากคาร์บอนไฟเบอร์ มีน้ำหนักเบา เหมาะกับผู้เล่นสายตั้งรับ

ความยาว 67.5 cm.
น้ำหนัก 87 กรัม (3U)
วัสดุของก้านไม้ 30T Hight modulus carbon fiber
วัสดุของเฟรม 24T Hight modulus carbon fiber

ไม้แบดมินตัน Victor Thruster K 15

ไม้แบดมินตัน Victor Thruster K 15

ไม้แบดมินตันที่ทำมาจากคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นไม้ที่เหมาะกับการใช้กำลัง เพราะจะเสริมแรงตบลูกได้ดีมาก เหมาะกับผู้เล่นสายรุก

ความยาว 67.5 cm.
น้ำหนัก 4U
วัสดุของก้านไม้ High Resilient Modulus Graphite, M40J, Nano Resin, 6.8 SHAFT
วัสดุของเฟรม High Modulus Graphite, Core Shell Rubber

ไม้แบดมินตัน Victor MX-5600

ไม้แบดมินตัน Victor MX-5600

ไม้แบดหัวหนักปานกลาง เหมาะกับผู้ที่เริ่มเล่นแบดมินตัน หรือผู้ที่กำลังเรียนแบดมินตัน ใช้ได้ดีทั้งผู้เล่นประเภทสาย All Round

ความยาว
น้ำหนัก 80-85 g (4U)
วัสดุของก้านไม้ Carbon graphite
วัสดุของเฟรม Carbon graphite

ไม้แบดมินตัน Yonex NANORAY LIGHT

ไม้แบดมินตัน Yonex NANORAY LIGHT

ไม้แบดมินตันน้ำหนักเบา มีหน้าไม้กว้าง ลดการต้านทานอากาศ เพิ่มความเร็วของลูกให้พุ่งไปข้างหน้า

ความยาว 66.5 cm
น้ำหนัก 75 g (5U)
วัสดุของก้านไม้ H.M. Full Graphite
วัสดุของเฟรม H.M. Full Graphite

ไม้แบดมินตัน Wilson Fierce C 3700

ไม้แบดมินตัน Wilson Fierce C 3700

เป็นไม้ที่ผลิตจากวัสดุที่มีความทนทาน ออกแบบมีความสมดุลในการควบคุมทิศทางและแรงตี ด้ามจับมีความสบาย รองรับการเล่นเป็นระยะเวลานาน เหมาะกับผู้เล่นใหม่

ความยาว 67.5 cm
น้ำหนัก 74 g (6U)
วัสดุของก้านไม้ Carbon graphite
วัสดุของเฟรม Liquid Crystal Fiber

วิธีเก็บรักษาไม้แบดมินตันให้ใช้ได้ยาวนาน

หลีกเลี่ยงบริเวณของการจัดเก็บที่มีแสงแดดจัด

ไม่ควรเก็บไม้แบดไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 40 องศาขึ้นไป หรือที่ที่แสงแดดส่องถึงเพราะจะทำให้ เฟรมไม้แบดเสื่อม เกิดการงอได้ เอ็นอาจจะเสื่อมได้

หลีกเลี่ยงการนำของหนักวางทับบนไม้แบดมินตัน

ควรวางไม้แบดอยู่ในกระเป๋าแบดมินตันเพื่อป้องการการทับของสิ่งของ อาจทำให้ไม้แบดเสียทรงได้ เมื่อพักเบรคในสนามไม่ควรวางไว้ที่โต๊ะ เก้าอี้ ควรไปแขวนกับที่ทางสนามจัดเตรียมไว้ให้

ตัดเอ็นทิ้งทันทีเมื่อเอ็นชำรุด

หากไม่ตัดทันที เฟรมของไม้แบดอาจจะบิดเบี้ยวได้ ทำให้เสื่อมสภาพโดยไวกว่าระยะเวลาที่ควรจะเป็น

การทำความสะอาดไม้แบดมินตัน

ควรทำความสะอาดหลังจากเล่นเสร็จทุกครั้ง โดยใช้ผ้าสะอาดหรือเช็ดบริเวณที่เป็นเหงื่อที่จับกับด้านจับ เพราะถ้าเราไม่ทำความสะอาด อาจจะทำให้เฟรมแตก เพราะวัสดุที่ทำเป็นไม้


ทุกคนน่าจะเห็นทั้งวิธีเลือกไม้แบด การคัดสรรแต่ละยี่ห้อ น้ำหนัก ความยาว และปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาฝึกเล่น คนที่เป็นนักกีฬามืออาชีพ หวังว่าจะได้วิธีการ การเก็บรักษาของไม้แบดได้เป็นอย่างดีเลย เพื่อให้ไม้แบดของเราอยู่กับเราไปนานๆ

Team FAV

ทางทีมงานแอดมินทำเวปไซต์ Fav a good time นี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของทางออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ทางทีมงานของเราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคค่ะ ทำให้การตัดสินใจซื้อมีข้อมูลมากขึ้นคะ

Profile