12 ยากำจัดเห็บ หมัด ยี่ห้อไหนดี เพื่อสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี ได้ผลจริง

12 ยากำจัดเห็บ หมัด ยี่ห้อไหนดี เพื่อสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี ได้ผลจริง
สัตว์เลี้ยง

หลายๆคนมักนิยมเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว แต่การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นก็จะประสบปัญหาเรื่องเห็บและหมัดติดตัวสัตว์เลี้ยงของเราอยู่เสมอ หากเราปล่อยปละละเลย ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อตัวเรา และสัตว์เลี้ยงของเราได้

เห็บและหมัด คืออะไร?

เห็บและหมัด คือ ศัตรูตัวฉกาจที่สามารถสร้างความคัน ความรำคาญของสัตว์เลี้ยง และเจ้าของสัตว์เลี้ยง และรู้หรือไม่เจ้าตัวเล็กๆ เหล่านี้อันตรายกว่าที่คิด ก่อนจะเข้าเรื่องนั้น บางคนอาจยังแยกเห็บและหมัดไม่ได้ บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นตัวเดียวกัน เดี๋ยวเราจะบอกถึงลักษณะสัตว์ 2 ตัวนี้กัน

เห็บ

เห็บ ลำตัวมีสีน้ำตาล มี 8 ขา กระโดดไม่ได้ โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เห็บจะเจริญเติบโตได้ดีมาก (ระบาด) เรามักจะพบเจ้าเห็บเหล่านี้บริเวณซอกหู ซอกเล็บของสัตว์เลี้ยง

หมัด

หมัด ลำตัวที่เล็กและแบน มี 6 ขา หมัดมีขาที่แข็งแรงทำให้สามารถกระโดดได้ไกลมาก เหมือนดูจะขนาดตัวของมัน

(เห็บจะผสมพันธุ์บนตัวสัตว์เลี้ยง และวางไข่ตามซอกกำแพงหรือพื้น แต่หมัดผสมพันธุ์และวางไข่บนตัวสัตว์เลี้ยง)

ปัญหาจากเห็บและหมัดที่ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยง

อย่างที่บอกไว้ข้างตัวว่าเจ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ อันตรายกว่าที่คิด โดยเฉพาะน้ำลายของพวกมันเป็นต้นตอของโรคต่างๆ กับสัตว์เลี้ยง ดังนี้

โรคโลหิตจาง

เนื่องจากเห็บ-หมัด กินเลือดเป็นอาหาร ถ้าเราไม่รีบกำจัด อาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงของเราเสียเลือดให้กับสัตว์ร้ายตัวเล็กเหล่านี้ จนกลายเป็นโรคโลหิตจางได้ในอนาคต

โรคพยาธิเม็ดเลือดต่างๆ (Blood Parasite)

พยาธิต่างๆ เช่น อี.เคนิส (E – Canis) บาบีเซีย (Babesia) หรือเฮปาโตซูน (Hepatozoon) พยาธิเหล่านี้ส่งผลเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น มีไข อ่อนแรง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออักเสบ โลหิตจางอย่างรุนแรง ต่อมน้ำเหลืองและม้ามโต

โรคพยาธิตัวตืด

พยาธิตัวตืดที่เราจะพบเห็นตามอุจจาระของสัตว์เลี้ยง ส่งผลให้มีอาการไม่สบายเนื้อสบายตัว และถ้าอยู่ที่บริเวณหู จะทำให้คันเป็นอย่างมาก

โรคภูมิแพ้น้ำลายเห็บและหมัด

น้ำลายของเห็บและหมัดส่งผลทำให้ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงอักเสบ จะมีอาการคันอย่างรุนแรง และมีผิวหนังที่แดง

โรคอัมพาต

น้ำลายของเห็บ-หมัดเป็นพิษมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทได้ จะทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาการอ่อนแรง โดยเฉพาะขา อาเจียน เห่าไม่มีเสียง และเป็นอัมพาตในที่สุด

ยากำจัดเห็บและหมัดมีกี่ประเภท

แบบหยอด

เป็นยาหยอดบริเวณหลังของสัตว์เลี้ยง เมื่อตัวยาสัมผัสกับผิวหนัง ก็จะกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เหมาะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีเห็บ-หมัดไม่เยอะ

แบบกิน

จะคล้ายๆ แบบหยอด แต่เป็นวิธีการกินเข้าไป ตัวยาก็จะกระจายไปที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงตามเส้นเลือด เมื่อเห็บ-หมัดดูดเลือดจะมีผลทำให้ตายได้

แบบสเปรย์

ช่วยกำจัดเห็บ-หมัดที่อยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงด้วยวิธีฉีดพ่นลงบนตัวสัตว์เลี้ยงเพื่อฆ่าเห็บ

แบบแชมพูอาบน้ำ

ช่วยจำกัดเห็บ-หมัดที่อยู่บนตัวสัตว์เลี้ยง แต่ไม่ช่วยป้องกันเห็บ-หมัดที่จะขึ้นมาบนตัว

แบบปลอกคอ

ที่ปลอกคอจะมียาช่วยป้องกันเห็บ-หมัดไม่ให้ขึ้นบนตัวสัตว์เลี้ยง

วิธีเลือกยากำจัดเห็บหมัดให้ได้ผล

เลือกจากประเภทของยา

  • แบบหยอด ออกฤทธิ์ประมาณ 1 เดือน หรือหมดทันทีเมื่อโดนชะล้าง ควรหยอดบริเวรที่สัตว์เลียไม่ถึง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเลีย-กินยา มีข้อจำกัดคือ ปริมาณที่หยอด ขึ้นอยู่กับขนาดตัว และน้ำหนัก
  • แบบกิน ออกฤทธิ์ประมาณ 1 เดือน วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลดี เห็นผลว่าเห็บตายภายในไม่กี่วันหลังได้รับกินยา แต่ต้องระวังเก็บให้ห่างจากสัตว์เลี้ยง เพราะอาจคิดว่าเป็นขนม แล้วกินเล่นจนได้รับยาเกินขนาด ส่งผลให้เป็นอันตรายได้ และยาแบบกินควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อกินเอง
  • แบบสเปรย์ ออกฤทธิ์ประมาณ 1 สัปดาห์ – 1 เดือน เห็บหมัดตายทันที เนื่องจากยาจะกระจายไปทั่วตัว และสัมผัสกับเห็บ-หมัดโดยตรง จึงทำให้เห็นผลเร็วกว่าแบบหยอด แต่มีข้อจำกัด คือ ระยะเวลาป้องกันอาจสั้นกว่า และอันตรายมากกว่าแบบหยอด เพราะอาจเข้าปากหรือเข้าตาได้ง่าย
  • แบบแชมพูอาบน้ำ เป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย สามารถทำได้บ่อย แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถฆ่าได้เฉพาะตัวที่อยู่บนสัตว์เลี้ยงเท่านั้น เห็บ-หมัดตัวใหม่ก็ยังสามารถขึ้นมาอยู่บนตัวสุนัขได้ ระยะเวลาออกฤทธิ์ค่อนข้างสั้น เพียง 1-7 วันเท่านั้น และถ้าล้างแชมพูออกไม่หมด สัตว์เลี้ยงอาจเกินอาการคัน และแพ้ได้
  • แบบปลอกคอ วิธีนี้สะดวก สามารถควบคุมได้นาน ตั้งแต่ 3-6 เดือน โดยตัวยาจะค่อยๆ ซึมลงผิวหนัง และกระจายไปทั่วร่างกาย แต่มีข้อจำกัด คือ ไม่ค่อยได้ผลกับสัตว์เลี้ยงขนยาว หรือขนหนา รวมถึงบางตัวที่มีอาการแพ้ หรือคันบริเวณคอ และต้องระวังไม่ให้สัตว์เลี้ยงแทะปลอกคอด้วย เพราะเท่ากับว่ากินยาเข้าไปโดยตรง อันตรายมาก

เลือกตามช่วงอายุ น้ำหนัก และสายพันธุ์

โดยเฉพาะแบบหยอดและแบบกิน จะมีการแบ่งเกณฑ์ตามน้ำหนัก และสายพันธุ์

พิจารณาเรื่องความปลอดภัย

เราต้องรู้ว่าสัตว์เลี้ยงของเราแพ้สารตัวไหนในยาหยอดหรือเปล่า เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่จะเกิดขึ้นได้

ยากำจัดเห็บ หมัด ยี่ห้อไหนดี

FRONTLINE Plus For Dogs

FRONTLINE Plus For Dogs

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil‎ ‎9.8%/(S)-methoprene‎ ‎8.8%
อายุที่เหมาะสม 8 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม น้อยกว่า 5 kg, น้อยกว่า 10 kg, น้ำหนัก 10 – 20 kg, น้ำหนัก 20 – 40 kg และน้ำหนัก 40 – 60 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 หลอด/กล่อง

Revolution For Dogs

Revolution For Dogs

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Selamectin 12%
อายุที่เหมาะสม 6 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม น้ำหนัก 2.6 – 5 kg, น้ำหนัก 5 – 10 kg, น้ำหนัก 11 – 20 kg, น้ำหนัก 20 – 40 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 หลอด/กล่อง

FRONTGUARD Plus

FRONTGUARD Plus

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil‎ 10%/(S)-methoprene‎ ‎9%
อายุที่เหมาะสม 8 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม น้ำหนัก 2–10 kg, น้ำหนัก 10–20 kg และน้ำหนัก 20–40 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 1 หลอด/กล่อง

Bayticol 6%

Bayticol 6%

ประเภท แบบสเปรย์พ่น
ส่วนผสมสำคัญ Flumethrin 6%
อายุที่เหมาะสม ทุกช่วงวัย
น้ำหนักที่เหมาะสม ทุกช่วงน้ำหนัก
ระยะการออกฤทธิ์ 2 สัปดาห์
ปริมาณ 10 cc/ 100 cc

NexGard Spectra

NexGard Spectra

ประเภท แบบกิน
ส่วนผสมสำคัญ Afoxalaner/Milbemycin Oxime
อายุที่เหมาะสม อายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม น้ำหนัก 2–3.5 kg, น้ำหนัก 3.5–7.5 kg, น้ำหนัก 7.5–15 kg, น้ำหนัก 15 – 30 kg และน้ำหนัก 30 – 60 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน
ปริมาณ 3 เม็ด / กล่อง

Beaphar FIPROtec

Beaphar FIPROtec

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil
อายุที่เหมาะสม 8 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม 5 -60 kg.
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 1 หลอด/กล่อง

Advocate For Cats

Advocate For Cats

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Imidacloprid 10% / Moxidectin 0.5 – 2.5%
อายุที่เหมาะสม อายุ 9 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม ไม่เกิน 4 kg และมากกว่า 4 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 เม็ด / กล่อง

FRONTLINE PLUS CAT

FRONTLINE PLUS CAT

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil‎ ‎10%/(S)-methoprene‎ ‎12%
อายุที่เหมาะสม อายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม ไม่เกิน 7.5 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 หลอด/กล่อง

YANA สเปรย์กำจัดเห็บหมัด

YANA สเปรย์กำจัดเห็บหมัด

ประเภท แบบสเปรย์พ่น
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil 0.25%
อายุที่เหมาะสม อายุ 3 เดือนขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม ทุกช่วงน้ำหนัก
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน
ปริมาณ 250 ml

Beaphar Dimethicare Spray

Beaphar Dimethicare Spray

ประเภท แบบสเปรย์พ่น
ส่วนผสมสำคัญ Dimethicone 8%
อายุที่เหมาะสม ทุกช่วงวัย
น้ำหนักที่เหมาะสม ทุกช่วงน้ำหนัก
ระยะการออกฤทธิ์ 2 สัปดาห์
ปริมาณ 400 ml

Revolution ยาหยดกำจัดเห็บหมัดแมว

Revolution ยาหยดกำจัดเห็บหมัดแมว

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Selamectin 6%
อายุที่เหมาะสม แบบหยอด
น้ำหนักที่เหมาะสม น้ำหนัก 2.6 – 7.5 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 หลอด/กล่อง

Broadline Cat Spot-on Solution for CAT

Broadline Cat Spot-on Solution for CAT

ประเภท แบบหยอด
ส่วนผสมสำคัญ Fipronil‎ /(S)-methoprene‎ / Eprinomectin / Praziquantel
อายุที่เหมาะสม อายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักที่เหมาะสม น้อยกว่า 2.5 kg และช่วง 2.5 – 7.5 kg
ระยะการออกฤทธิ์ 30 วัน / 1 หลอด
ปริมาณ 3 หลอด/กล่อง

ข้อควรระวังในการใช้ยากำจัดเห็บหมัด

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างกล่อง หรือสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ห้ามให้ยาเหล่านี้เข้าปาก เข้าตาสัตว์เลี้ยงเด็ดขาด ถ้าเป็นยาใช้ภายนอก
  • ไม่ควรอุ้มขณะสัต์เลี้ยงขนยังเปียกยาหยอดอยู่ ถ้ามีน้องๆ หลายตัว ให้แยกออกห่างกันประมาณครึ่งชั่วโมงอย่างต่ำ รอให้ยาแห้งก่อน ป้องกันสัตว์เลี้ยงตัวอื่นเลียสารยาเข้าทางปาก
  • ถ้ามีสัตว์เลี้ยงที่กำลังท้องอยู่ ต้องดูว่ายาที่ใช้สามารถใช้ได้กับสัตว์ที่ท้องอยู่หรือไม่
  • ไม่ควรใช้ในสัตว์ป่วยหรือพักฟื้นอยู่

อาการแพ้ยากำจัดเห็บหมัด พร้อมวิธีปฐมพยาบาล

ไอเวอร์เมกติน และอนุพันธ์

เป็นที่นิยมมาก เพราะนอกจากจะควบคุมเห็บ-หมัดได้แล้ว ยังใช้ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วย มีตั้งแต่แบบกิน หยอด และฉีด

  • อาการแพ้ที่พบ คือ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม รูม่านตาขยาย ตาบอด น้ำลายไหลมาก ขาอ่อนแรง เดินเซ หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก และอาจเสียชีวิตได้

อะมิทราช

มีตั้งแต่แบบอาบ สเปรย์ และปลอกคอเห็บ-หมัด (ห้ามใชใรสัตว์เลียงที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะมีฤทธิ์ไปยับยั้งการสร้างอินซูลิน)

  • อาการแพ้ที่พบ คือ ซึม ง่วง เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ หัวใจเต้นช้า อาเจียน รูม่านตาขยาย ตัวเย็นลง ชักและอาจเสียชีวิตได้

สารกลุ่มไพเรทรินและไพเรทรอยด์

เป็นสารสกัดธรรมชาติจากดอกไพเรทรัม มีตั้งแต่แบบสเปรย์ ผสมน้ำอาบ แชมพู ผงฝุ่น หยอดหลัง ปลอกคอป้องกันเห็บหมัด เป็นต้น

  • อาการแพ้ที่พบ คือ น้ำลายไหล ใบหูกระตุก ซึม อาเจียน บางตัวมี ผื่นแดง คัน แต่ในตัวที่ได้รับยาสูงมากๆ จะมีอาการเดินเซ กล้ามเนื้อเกร็ง รูม่านตาขยาย ชักกระตุก และอาจเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

สารกลุ่มออกาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต

มีทั้งในรูปของสเปรย์ แชมพู และปลอกคอกันเห็บหมัด

  • อาการแพ้ที่พบ คือ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน น้ำลาย-น้ำตาไหล ไอ หายใจลำบาก ตัวร้อนขึ้น รูม่านตาหรี่ ชัก กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง และอัมพาต

การปฐมพยาบาล ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษดังนี้

ผิวหนังหรือขน

ต้องตัดขนบริเวณที่สัมผัสกับตัวยาก่อน หลังจากให้ล้างด้วยน้ำอุ่น สบู่ แชมพู หรือน้ำยาล้างจานให้ทั่วถึงหลายๆ ครั้ง รีบเช็ดตัวให้แห้ง และให้ความอบอุ่น แต่ถ้าเป็นสารที่ทำให้เกิดความระคายเคือง ก็ห้ามถูแรงๆ ให้เปิดน้ำฉีดล้างเบาๆ แทน

เข้าตา

ให้ใช้น้ำสะอาด เปิดไหลผ่านตาเบาๆ โดยใช้เวลา 10 นาทีขึ้นไป ให้ใช้น้ำอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกายสัตว์เลี้ยง

กินหรือเลียเข้าปาก

ต้องกระตุ้นการอาเจียน และป้อนสารดูดซับสารพิษ ข้อควรระวัง ถ้าสารที่ได้รับเข้าไปมีฤทธิ์กัดกร่อน หรือสัตว์เลี้ยงยังไม่รู้สึกตัว ห้ามกระตุ้นให้อาเจียนเด็ดขาด ให้ล้างช่องปาก และบริเวณรอบๆ โดยเปิดน้ำไหลผ่านแทน แล้วรีบไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด

ยาที่ช่วยกระตุ้นให้อาเจียนให้สัตว์เลี้ยง มีดังนี้

  1. เกลือแกง 1-3 ช้อนชา แต่ต้องระวัง ถ้าโซเดียมในเลือดสูง อาจทำให้สมองบวม และชักได้ (โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงอายุน้อย ไม่จำเป็นให้หลีกเลี่ยงวิธีนี้)
  2. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 % ขนาด 1-5 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สูงสุดไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ต่อครั้ง) สามารถให้ซ้ำได้ ถ้าไม่ได้ผล
  3. น้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของฟอสเฟต โดยผสมน้ำยาล้างจาน 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) ระวังน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของแอลคาไล เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนมาก ห้ามป้อนเด็ดขาด
  4. น้ำเชื่อมไอปิแคค 7 % (Ipecac) ขนาด 1-2 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาจทำให้เจืองจางด้วยน้ำในอัตราส่วน 1:1 หากไม่อาเจียนสามารถให้ซ้ำได้ไม่เกิน 1 ครั้ง แต่วิธีนี้มีผลต่อหัวใจ (ถ้าไม่จำเป็นให้หลีกเลี่ยง)

ผงถ่าน (Activated charcoal) ยาที่ช่วยดูดซับสารพิษแก่สัตว์เลี้ยง

เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษเข้าไป ควรป้อนผงถ่านมากเป็น 10 เท่าของปริมาณสารพิษ หรือขนาด 0.5-4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. โดยผสมผงถ่าน 1 ก. ในน้ำ 5 มล. โดยป้อนหลังจากการทำให้อาเจียน ไม่เช่นนั้นถ้าป้อนก่อน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอาเจียนเอาผงถ่านออกมาด้วย หรือจะป้อนเพื่อต้องการดูดซับสารพิษอย่างเดียวก็ได้ แต่ห้ามป้อนพร้อมกับยาอื่น เพราะผงถ่านจะดูดซับยาตัวอื่นด้วย

ข้อควรระวัง ห้ามป้อนผงถ่าน ถ้าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจ และไม่สามารถใช้ผงถ่านในการดูดสารพิษได้ ในกรณีที่ได้รับสารพิษพวกไฮโดรคาร์บอนหรือสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพราะผงถ่านดูดซับไม่ได้
เห็บและหมัดเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับสัตว์เลี้ยงของเรา และรวมถึงตัวของเราด้วย หากคุณมีสัตว์เลี้ยง ก็ควรหมั่นเอาใจใส่พวกเขากันให้ดีด้วยนะคะ และถ้าหากสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพาเขาไปพบแพทย์อย่างด่วนเลยค่ะ

Team FAV

ทางทีมงานแอดมินทำเวปไซต์ Fav a good time นี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของทางออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ทางทีมงานของเราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคค่ะ ทำให้การตัดสินใจซื้อมีข้อมูลมากขึ้นคะ

Profile