12 หม้อหุงข้าว ยี่ห้อไหนดี ที่ทั้งทน ทั้งจุ คุณภาพดี
ในสมัยโบราณ การหุงข้าวค่อนข้างจะยากลำบากไม่ใช่น้อย เพราะการหุงข้าวจะต้องก่อไฟขึ้น และนำข้าวมาใส่ลงในหม้อต้ม และจะต้องเฝ้าดูข้าวตลอดว่าสุกได้ที่ดีหรือยัง แต่ในปัจจุบันนี้ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าช่วยให้เราหุงข้าวได้ง่ายขึ้นมาก อีกทั้งตัวหม้อหุงข้าวนั้น เรายังสามารถใช้ประกอบอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ตุ๋น ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าสะดวกสบายกันมากเลยทีเดียว
สารบัญ
หม้อหุงข้าวมีกี่ประเภท?
หม้อหุงข้าวประเภทแม่เหล็กไฟฟ้า
หม้อหุงข้าวประเภทแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับคนที่ต้องการข้าวสุก นิ่ม หอมได้รสชาติดีอย่างทั่วถึง เพราะระบบ IH มีคอยล์หรือขดลวดที่ให้ความร้อนสูง ทำให้กระจายความร้อนได้ดีและสม่ำเสมอ
หม้อหุงข้าวประเภทแรงดันสูง
หม้อหุงข้าวประเภทแรงดันสูง เหมาะกับคนที่อยากทานข้าวที่มีรสชาติอร่อย สุกนิ่มน่ารับประทาน หรือต้องการฟังก์ชันปรุงอาหารที่หลากหลาย ระบบการทำงานหลัก ๆ ของหม้อหุงประเภทนี้ คือ ระบบแบบผสมผสานระหว่าง IH ที่ให้ความร้อนสูง และกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึงกับระบบแรงดัน
หม้อหุงข้าวประเภทแก๊ส
หม้อหุงข้าวประเภทแก็ส เหมาะสำหรับร้านอาหาร โรงอาหาร โรงงานที่ต้องการการหุงข้าวทีละเยอะๆ โดยใช้แก๊สหุงต้ม ช่วยประหยัดมากกว่าการใช้ไฟฟ้าหลายเท่าตัว และวัสดุของตัวหม้อหุงข้าวแข็งแรงทนทาน ดูแลรักษาง่าย ราคาในการหุงทีละเยอะๆ ก็ถูกกว่าประเภทอื่นๆ
หม้อหุงข้าวประเภทไมโครคอมพิวเตอร์
หม้อหุงข้าวประเภทไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแค่หุงข้าวทั่วไป เพราะใช้งานง่าย ราคาถูก และทำความสะอาดได้ง่าย โดยเป็นระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ที่จะกระจายความร้อนจากด้านล่างของตัวเครื่องเข้าภายในตัวหม้อหุงข้าวโดยตรง แต่มีข้อเสีย คือ ให้ความร้อนต่ำ และกระจายความร้อนไม่สม่ำเสมอ ทำให้ข้าวสุกไม่ทั่ว
ข้อควรรู้ในการหุงข้าว
จำนวนสมาชิกในบ้าน
เพราะจะได้เลือกขนาดของหม้อหุงข้าวให้พอดี โดยไม่ต้องหุงแล้วข้าวเหลือหรือหุงแล้วไม่พอรับประทาน
ควรถอดปลั๊กทันทีเมื่อข้าวสุก
เพราะถ้าข้าวสุกแล้วยังไม่ถอด จะทำให้ตัวหม้อหุงข้าวมีความร้อน ส่งผลให้ข้าวไหม้ได้ แถมยังเป็นการเปลืองไฟโดยใช่เหตุ
ไม่ควรเปิดฝาหม้อบ่อยขณะข้าวกำลังหุง
เพราะจะทำให้ตัวหม้อสูญเสียความร้อน ข้าวสุกไม่ทั่วหม้อ และเปลืองไฟมากขึ้น
ควรแช่ข้าวกล้องก่อนหุงทุกครั้ง
เพราะตัวข้าวกล้องจะค่อนข้างแข็งเนื่องจากเมล็ดข้าวไม่โดนขัดสีเปลือกออกไปเยอะ จึงต้องแช่น้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง จึงค่อยหุง จะทำให้ข้าวกล้องนิ่ม น่ารับประทานมากขึ้น
การเลือกซื้อหม้อหุงข้าว
เลือกจากระบบในการหุงข้าว พิจารณาราคาและรสชาติร่วมด้วย
- ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นระบบกระจายความร้อนจากด้านล่างของตัวเครื่องเข้าภายในตัวหม้อหุงข้าวโดยตรง มีราคาถูกกว่าระบบอื่น รสชาติเป็นแบบทั่วๆ ไป
- ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) เป็นระบบ IH มีคอยล์หรือขดลวดที่ให้ความร้อนสูง ทำให้กระจายความร้อนได้ดีและสม่ำเสมอ มีราคาสูงกว่าระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ข้าวสุก นิ่ม หอมได้รสชาติดี
- ระบบแรงดันสูง (IH Pressure) ผสมผสานระบบ IH ที่ให้ความร้อนสูงและกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึงกับเทคโนโลยีการเพิ่มแรงดันทำให้ข้าวมีรสชาติอร่อย สุกนิ่มน่ารับประทานยิ่งขึ้น
เลือกฟังก์ชันให้เหมาะกับความต้องการ
- ฟังก์ชันการหุงข้าวกล้องและข้าวผสมธัญพืช เนื่องจากปัจจุบันผู้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นและเลือกทานข้าวกล้องและข้าวผสมธัญญพืชเพื่อบำรุงสุขภาพ จึงมีฟังก์ชันการหุงข้าวให้มีหลากหลายมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะข้าวขาวเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับเพิ่มพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาการหุงให้เหมาะสมกับข้าวชนิดอื่น ๆ ด้วย เพียงแค่กดปุ่มก็ได้ข้าวที่สุก หอมและน่ารับประทานแล้ว นอกจากนี้ บางรุ่นยังมีฟังก์ชันสำหรับข้าวแช่แข็งและข้าวอบ ช่วยประหยัดต้นทุนในการทำงาน
- ฟังก์ชันการปรุงอาหารได้หลากหลาย สำหรับฟังก์ชัน “ตัวเลือกการปรุงอาหาร” ที่นอกเหนือจากการหุงข้าวนี้ถูกเพิ่มมาในหม้อหุงข้าวสักระยะใหญ่แล้ว ซึ่งฟังก์ชันนี้ก็แตกต่างและหลากหลายไปในแต่ละรุ่น/ยี่ห้อไม่ว่าจะการต้ม การตุ๋น หรือการอบขนมก็สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ควรเลือกโหมดการประกอบอาหารให้ตรงกับอาหารที่เรากำลังจะทำ เพราะการเลือกฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการทำอาหารนั้น ๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ฟังก์ชัน 2 ขั้นตอนในคราวเดียว เหมาะกับคนที่อยู่คนเดียว เพราะคุณสามารถหุงข้าวในหม้อส่วนล่างไปพร้อม ๆ กับประกอบอาหารบางอย่างในหม้อส่วนบนได้ ซึ่งการหุงหาอาหารแบบนี้นอกจากจะทำให้ประหยัดเวลาแล้ว ยังช่วยประหยัดพื้นที่ไปได้เยอะเลยทีเดียว แต่การทำอาหารในหม้อแบบนี้ มีข้อจำกัดเรื่องวิธีประกอบอาหารอยู่ ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน
เลือกจากปริมาณในการหุงแต่ละครั้ง
ข้อนี้สำคัญมากกับการเลือกหม้อหุงข้าว เพราะถ้าปกติเราหุงข้าวในปริมาณที่มาก แต่ซื้อหม้อหุงข้าวที่มีความจุน้อยกว่า ก็จะทำให้ต้องหุงข้าวหลายรอบ เสียทั้งเวลา แถมยังเปลืองไฟ แต่ถ้าซื้อหม้อหุงข้าวที่มีความจุเยอะ แต่เราหุงในปริมาณที่น้อย ก็จะให้เปลืองไฟมากกว่าเดิม
เลือกให้เหมาะกับพื้นที่ที่จัดวาง
สำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด เช่น อยู่คอนโด หรืออพาร์ตเมนต์ แนะนำว่าให้คุณจัดสรรพื้นที่ให้ดี เพราะหากเลือกขนาดหม้อหุงข้าวผิด อาจทำให้เกินความรำคาญหรือเกะกะเวลาปรุงอาหาร ต้องคอยเลื่อนเพื่อให้สามารถปรุงอาหารได้สะดวก อีกทั้งฟังก์ชันของหม้อหุงข้าว ที่บางรุ่นอาจใช้พื้นที่เยอะ ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อหม้อหุงข้าวคุณควรคำนึงถึงพื้นที่ในการจัดวางจากการเลือกขนาด ฟังก์ชันด้วย
เลือกที่สามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย
เพราะบางคนหุงข้าวแทบทุกวัน หากหม้อหุงข้าวรุ่นไหน ที่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย มีชิ้นส่วนน้อย แต่ละชิ้นถอดล้างได้ และดูแลรักษาง่าย ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการซื้อ แต่รุ่นที่ให้ฟังก์ชันเยอะ รักษาทำความสะอาดยาก มีหลายส่วนที่ต้องทำความสะอาด ก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะสำหรับผู้ที่หุงข้าวแทบทุกวัน และไม่ชอบการทำความสะอาดที่ยุ่งยาก
หม้อหุงข้าว ยี่ห้อไหนดี
Otto หม้อหุงข้าว รุ่น CR-110
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1.0 ลิตร |
ขนาด | 24 x 24 x 26 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบอะลูมิเนียม ป้องกันข้าวติดหม้อ |
กำลังไฟ | 400 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | มีถาดสำหรับนึ่งหรืออุ่นอาหารได้ |
SKG หม้อหุงข้าวอุ่นทิพย์ รุ่น SK-125
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1.2 ลิตร |
ขนาด | 20 x 21.5 x 20 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบเทฟล่อน |
กำลังไฟ | 400 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | มีระบบอุ่นข้าวตลอดเวลา |
Xiaomi Mijia Small Rice Cooker
ระบบ | ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) |
---|---|
ความจุ | 1.6 ลิตร |
ขนาด | 24 x 21 x 18.6 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบด้วยผงเคลือบ PFA จาก Daikin ที่ไม่ทำให้ข้าวติดหม้อ |
กำลังไฟ | 400 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ |
|
Philips HD3030 Rice Cooker 1 litre รุ่น HD3030
ระบบ | ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) |
---|---|
ความจุ | 1 ลิตร |
ขนาด | 37.7×24.5×21 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบสารกันข้าวติดหม้อ และสารกันรอยขีดข่วน |
กำลังไฟ | 600 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ |
|
TOSHIBA รุ่น RC-5MM(WT)A
ระบบ | ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) |
---|---|
ความจุ | 0.54 ลิตร |
ขนาด | 22.8 x 25 x 22.1 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบสาร Healthy Flon ข้าวไม่ติดหม้อ ทำความสะอาดง่าย |
กำลังไฟ | 360 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ |
|
TOSHIBA RC-18NMF(WT)A 1.8 litre
ระบบ | ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) |
---|---|
ความจุ | 1.8 ลิตร |
ขนาด | 28 x 35.2 x 24.9 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบสาร Healthy Flon ข้าวไม่ติดหม้อ ทำความสะอาดง่าย |
กำลังไฟ | 680 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ |
|
ELECTROLUX ERC3305
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1.8 ลิตร |
ขนาด | 27.3 x 30.1 x 28.4 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบเทฟลอน 2 ชั้น |
กำลังไฟ | 770 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | อุ่นอัตโนมัติ 24 ชม. |
ELECTROLUX ERC1800
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1.8 ลิตร |
ขนาด | 22.5×22.5×25 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบอลูมิเนียมเคลือบกันติด |
กำลังไฟ | 700-833 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | ระบบอุ่นอัตโนมัติ |
ELECTROLUX ERC1300
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1.3 ลิตร |
ขนาด | 22.5×22.5×25 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | อลูมิเนียมเคลือบกันติด |
กำลังไฟ | 450-536 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | มีถาดสำหรับนึ่งหรืออุ่นอาหารได้ |
TOSHIBA RC-10NMF
ระบบ | ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า (IH) |
---|---|
ความจุ | 1 ลิตร |
ขนาด | 25.5 x 32.8 x 21.5 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบสาร Healthy Flon ข้าวไม่ติดหม้อ ทำความสะอาดง่าย |
กำลังไฟ | 560 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ |
|
SHARP KS-11E
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 1 ลิตร |
ขนาด | 26.9×28.0×25.5 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบด้วยโพลีฟลอน ทำให้หุงแล้วไม่ติดหม้อ ทำความสะอาดได้ง่าย |
กำลังไฟ | 485 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | ระบบอุ่นอัตโนมัติ |
Midea MR-CM06SA
ระบบ | ไมโครคอมพิวเตอร์ |
---|---|
ความจุ | 0.6 ลิตร |
ขนาด | 24.5 x 21 x 20.5 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง) |
ผิวหม้อ | เคลือบด้วยเทฟล่อน |
กำลังไฟ | 400 วัตต์ |
ฟังก์ชันพิเศษ | ระบบอุ่นอัตโนมัติ |
วิธียืดอายุการใช้งานหม้อหุงข้าวให้ยาวนาน
- ควรทำความสะอาดหม้อหุงข้าวให้สะอาด ภายนอกหม้อต้องแห้งสนิท ก่อนจะนำหม้อใส่ลงในเครื่อง ไม่เช่นนั้นจะทำให้พังเร็วขึ้น
- หลังหุงข้าว หรือปรุงอาหารเสร็จ ภายในหม้อมักจะมีเศษอาหาร หยดน้ำ หรือน้ำมันค้างอยู่ ควรทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง
- ไม่ควรซาวข้าวภายในหม้อ เพราะการซาวข้าวจะไปขีดข่วนทำลายตัวเคลือบผิวด้านในหม้อได้ และถ้าทำความสะอาดภายในหม้อควรใช้ฟองน้ำนุ่มๆ ป้องกันปัญหาดังกล่าว
- ห้ามใส่น้ำ หรือเครื่องปรุง เกินขีดจำกัดปริมาณความจุสูงสุดที่อยู่ภายในหม้อ ถ้าใส่เกิน เมื่อหม้อเริ่มเดือดจะทำให้ล้นออกมา และหม้อพังได้
วิธีทำความสะอาดหม้อหุงข้าวทั้งภายในและภายนอก
- ก่อนทำความสะอาดต้องถอดปลั๊กออกทุกครั้ง
- เมื่อถอดปลั๊กแล้ว ควรเปิดฝาหม้อทิ้งไว้ เพื่อให้หม้อได้ระบายความร้อนข้างในออกมา และปล่อยทิ้งไว้สักพักให้เย็นลง
- เมื่อภายในหม้อเย็นลงแล้ว ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำส้มสายชูพอหมาดๆ ค่อยๆ เช็ดบริเวณด้านในของตัวเครื่อง ขอบ และฝาของหม้อด้วยความระมัดระวัง อย่าให้น้ำส้มสายชูเปียกผ้าจนเกินไป บางรุ่นมีตัวกรองไอน้ำที่ฝา ควรนำออกมาเทน้ำทิ้ง และทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- การทำความสะอาดภายนอก ใช้แปรงสีฟันแตะน้ำผสมเบคกิ้งโซดาเข้มข้น ขัดบริเวณด้านนอกของหม้อ และใช้ผ้าสะอาดเช็ดคราบออก
- หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ควรทิ้งให้แห้งสนิทก่อน เพื่อป้องกันความชื้น และจะได้ไม่เสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจร
หม้อหุงข้าวมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท แต่ว่าหม้อหุงข้าวแต่ละประเภทเองก็มีวิธีการใช้งานอยู่ หากเราใช้งานไม่ถูกวิธี หรือดูแลรักษาไม่ดี ก็มีโอกาสที่จะทำให้หม้อหุงข้าวเสียได้