แนะนำเมนูอาหารอ่อน
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพราะอาหารเป็นพลังงานและแหล่งรวบรวมสารอาหารที่มอบคุณค่าให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และสมบูรณ์ แม้ในบางครั้งร่างกายของเรานั้นจะไม่พร้อมรับประทานอาหารโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ป่วยหรือรักษาตัว แต่ถึงอย่างไรแล้วร่างกายของเรายังคงต้องการอาหารเพื่อขับเคลื่อนกลไกการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
อาหารอ่อน หรือ Soft Food Diet เป็นอาหารที่มีกรรมวิธีในการทำที่ไม่มุ่งเน้นรสชาติของอาหาร เป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม ส่วนใหญ่อาหารอ่อนจะนำมาใช้กับเด็กเล็ก ผู้ป่วยทั่วไป หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนและระบบย่อยอาหาร เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในลำไส้ ผู้ป่วยที่ผ่าฟันคุด ผู้ป่วยที่รักษารากฟัน ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหรือพักฟื้นร่างกาย เป็นต้น
ข้าวต้มปลาแซลมอน
ข้าวต้ม เมนูที่ผูกพันกับใครหลายคนมาตั้งแต่ยังจำความได้ แถมยังทำกินง่าย คล่องคอ มีประโยชน์เพราะเนื้อปลาแซลมอน ย่อยง่ายและอุดมด้วยประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น เนื้อปลาแซลมอนช่วยลดการอักเสบ ดีต่อหัวใจและสมอง และเป็นเนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามิน ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินดี วิตามินบี แอสตาแวนธิน เป็นต้น
ส่วนประกอบของข้าวต้มปลาแซลมอน
เนื้อปลาแซลมอน | 500 กรัม |
---|---|
ข้าวสวยหอม | 3 ถ้วย |
ต้นหอม ผักชีและราก | สำหรับโรยหน้า |
น้ำสะอาด | 3 ถ้วย |
เครื่องปรุงรสของข้าวต้มปลาแซลมอน
เกลือป่น | 1 หยิบมือ |
---|---|
ผงปรุงรส | 1 ช้อน |
วิธีการทำข้าวต้มปลาแซลมอน
- นำเนื้อปลาเซลมอลล้างและหั่นเป็นลูกเต๋าขนาดไม่เล็กมาก เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน
- ต้มน้ำสะอาด 3 ถ้วย ใส่รากผักชีที่ทุบแล้ว เกลือเล็กน้อย และผงปรุงรสพร้อมกัน รอจนน้ำเดือด ใส่ข้าวสวยหอมมะลิลงไป 3 ถ้วย ต้มจนกว่าข้าวหอมะลิจะบาน และนิ่ม
- จากนั้นใส่เนื้อปลาแซลมอลลง (ในขั้นตอนนี้ ไม่ต้องคน) รอจนกว่าแซลมอลจะสุกดี
- เมื่อแซลมอลสุกแล้ว โรยผักชีและต้นหอม
- นำเสริฟ (หากผู้ป่วยสามารถรับประทานขิงและพริกไทยได้ สามารถใส่เพิ่มได้ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเพิ่มอรรถรสในกลิ่นและรสชาติ)
ไข่ตุ๋นเห็ดหอม
IMG BY : th.nonilo
สำหรับเมนูไข่ตุ๋นเห็ดหอมนั้นเป็นเมนูที่แสนจะง่ายเนื่องจากวัตถุดิบน้อย ไม่ยุ่งยากกินแล้วอิ่มท้องมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะเห็ดหอมจะช่วยเพิ่มรสชาติของไข่ตุ๋นให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน อีกทั้งมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายร่าง วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีในปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับประทานนั้นมีระบบขับถ่ายที่ดี และยังจะสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมต่างๆได้อีกด้วย ดังนั้นการได้ทานไข่ตุ๋นร้อน ๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นแถมยังได้สารอาหาร แร่ธาตุ และโปรตีนที่ดีมีประโยชน์ไปพร้อม ๆ กันเลย
ส่วนประกอบของไข่ตุ๋นเห็ดหอม
ไข่ไก่ | 2 ฟอง |
---|---|
น้ำสะอาด | ½ ถ้วยตวง |
เห็ดหอมสด | 2 ดอก |
แครอทรูปหั่นเต๋า | ตามต้องการ |
ต้นหอม | 1 ต้น |
เครื่องปรุงรสของไข่ตุ๋นเห็ดหอม
พริกไทยป่น | ¼ ช้อนชา |
---|---|
ซอสปรุงรส | 1 ถ้วย |
วิธีทำไข่ตุ๋นเห็ดหอม
- นำไข่ไก่ตอกใส่ชามผสม คนเบาๆพอให้ไข่แตก เติมน้ำสะอาดลงไป ปรุงรสด้วยซอสปรุงรสและพริกไทยป่น
- กรองด้วยกระชอนตาถี่ 2 ครั้ง เทใส่ถ้วยที่ต้องการจะนึ่ง
- นำไปนึ่งด้วยไฟอ่อนเป็นเวลา 15 นาที(ปิดปากภาชนะด้วยกระดาษฟอยล์)
- นำเห็ดหอมสด แครอท มาวางด้านบนของไข่ตุ๋น นึ่งต่ออีกเป็นเวลา 5 นาที
- นำออกจากเตานึ่ง โรยหน้าด้วยต้นหอมซอย พร้อมเสิร์ฟ
หัวไชเท้าตุ๋นเห็ดหอม
IMG BY : bloggang
เมนูหัวไชเท้าตุ๋นเห็ดหอม หัวไชเท้า ถือเป็นผักที่ถูกนำเอามาใช้ทำอาหารอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเพิ่มรสชาติของอาหารให้มีความกลมกล่อม ทั้งยังมีประโยชน์ที่จะช่วยในการแก้ท้องอืด ท้องแน่น ช่วยให้เจริญอาหาร และเมื่อนำมาปรุงอาหารร่วมกับเก๋ากี้แล้วเมนูนี้ถือได้ว่าเป็นเมนูอาหารอ่อนเพื่อสุขภาพที่ดีองผู้ป่วยเลยก็ว่าได้ เพราะเก๋ากี้เต็มปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลากหลายชนิด ทั้ง วิตามิน บี 1,2,6 วิจามิน ซี ฟอสฟอรัส ซิงค์ แคลเซียม รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระ
ส่วนประกอบของหัวไชเท้าตุ๋นเห็ดหอม
หัวไชเท้า | 500 กรัม |
---|---|
เห็ดหอมแห้ง | 100 กรัม |
หมูสับ | 300 กรัม |
ขิง | 50 กรัม |
เก๋ากี้ | 30 เม็ด |
เครื่องปรุงรสของหัวไชเท้าตุ๋นเห็ดหอม
น้ำตาลทราย | 1 ช้อน |
---|---|
ซีอิ๊วขาว | 1 ถ้วย |
ซอสปรุงรส | 1 ถ้วย |
วิธีการทำ หัวไชเท้าตุ๋นเห็ดหอม
- ล้างและหั่นหัวไชเท้า ให้เป็นแว่นพอดีคำหรือใช้ตัว
- จากนั้นนำเห็ดหอมแห้งไปแช่น้ำ 30 นาทีและหั่นเห็ดหอม เพื่อให้รับประทานได้สะดวกและคำไม่ใหญ่จนเกินไป
- ใส่น้ำเปล่า ½ ลิตร ใส่ขิง 50 กรัม เก๋ากี้ 20 เม็ด ใส่เห็ดหอมที่เตรียมไว้ ใส่หัวไชเท้าที่หั่นแล้วลงในหม้อปิดฝา
- เมื่อน้ำในหม้อเริ่มเดือด ปั้นนหมูสับเป็นก้อนใส่ลงในหม้อ ในระหว่างนี้หากในหม้อเกิดฟองให้ตักฟองออก เพื่อที่ไม่ให้น้ำซุปมีกลิ่นคาว
- ปรุงรสด้วย น้ำตาล ½ ช้อนชา ชีอิ๋วขาว 2 ช้อนโต๊ะ ชอลปรุงรสฝาเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
- ปิดฝาตุ๋นเวลา 40 นาที ในระหว่างตุ๋นไม่ต้องคน
ผัดวุ้นเส้นใส่ไข่หมูสับ
IMG BY : youtube
หลักจากที่ได้สูตรเมนูอาหารอ่อนประเภทน้ำแล้ว บางครั้งผู้ทานก็อยากรับประทานอาหารแบบแห้งๆ แต่กินง่ายบ้าง แต่อะไรละที่จะสามารถนำมารังสรรค์ให้เป็นเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารอ่อน ผู้เขียนจึงจำความได้ว่าในครันเมื่อวัยเยาว์ แม่จะชอบผัดวุ้นเส้นใส่ไข่และหมูสับให้ เป็นเมนูอาหารที่ทานง่าย แต่อร่อยจนต้องร้องขอเพิ่มอีกจาน
ส่วนประกอบของผัดวุ้นเส้นใส่ไข่หมูสับ
วุ้นเส้น | 100 กรัม |
---|---|
หมูสับ | 150 กรัม |
ไข่ไก่ | 3 ฟอง |
กะหล่ำปลี | 100 กรัม |
แครอท | 50 กรัม |
มะเขือเทศ | 50 กรัม |
ต้นหอม | 20 กรัม |
กระเทียม | 10 กรัม |
น้ำเปล่า | 300 ml. |
เครื่องปรุงรสของผัดวุ้นเส้นใส่ไข่หมูสับ
ซีอิ้วขาว | 2 ช้อนโต๊ะ |
---|---|
ซีอิ้วดำหวาน | 1 ช้อนชา |
ซอสหอยนางรม | 1 1/2 ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาลทราย | 1 ช้อนชา |
พริกไทยป่น | 1/2 ช้อนชา |
วิธีการทำผัดวุ้นเส้นใส่ไข่หมูสับ
- ตั้งกระทะให้ร้อนจากนั้นใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน ใส่กระเทียมสับแล้วผัดจนหอม
- เมื่อกระเทียมมีกลิ่นหอมและเหลืองสวย นำเนื้อหมูสับผัดใส่ลงกระทะ ผัดเข้าด้วยกันจนเนื้อหมูสุก
- เมื่อหมูสุก ให้นำไข่ไก่ที่เตรียมไว้ตอกใส่ในกระทะ แล้วผัดทุกอย่างให้เข้ากัน
- นำกระหล่ำปลีและหัวหอมที่หั่นแล้ว ผัดลงในกระทะ
- จากนั้นใส่วุ้นเส้นที่เตรียมไว้ แล้วผัดให้เข้ากันอีกครั้ง ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ตามความชอบ
- เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว จากนั้นใส่ซอสมะเขือเทศลงไปและใส่ต้นหอมปิดท้าย จากนั้นผัดให้เข้ากันแล้วปิดไฟ
- จัดใส่จานเสริฟ
ประเภทของอาหารอ่อน
อาหารอ่อนมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
อาหารอ่อนแบบทั่วไป (Normal soft diet)
อาหารอ่อนแบบทั่วไป (Normal soft diet) หมายถึงอาหารอ่อนสำหรับคนที่เคี้ยวอาหารได้ แต่รสชาติอาหารจะต้องไม่จัดจ้าน และย่อยง่าย ดีต่อระบบขับถ่าย ซึ่งอาหารอ่อนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ผู้ป่วยทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้โดย
อาหารอ่อนแบบบดหรือแบบเหลว (liquid foods/ Mechanical-soft diet)
เป็นอาหารสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ จะต้องมีการน้ำไปบดหรือปั่นให้ละเอียดก่อน ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นของเหลวหรือน้ำ เพื่อให้กลืนได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาหารอ่อนประเภทนี้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ด้วยตนเอง
เห็นไหมละคะว่าอาหารอ่อนเป็นอาหารที่ทำง่าย ไม่ต้องใช้ฝีมือในการทำอาหารเพียงแค่มีวัตถุดิบพร้อมก็สามารถนำมาทำอาหารให้กับผู้ป่วยรับประทานได้อย่างเอร็ดอร่อยไม่แพ้อาหารธรรมดาที่เราทานกันทุกวัน แต่ถึงอย่างไรแล้ว ก็มิใช่ว่าผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารทุกอย่างที่เป็นรสจืดและเคี้ยวง่ายได้ เพราะเรายังต้องหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ถั่วและเมล็ด ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอด ป๊อปคอร์น และช็อกโกแลต เป็นต้น รวมไปถึงโปรตีนชนิดแข็ง เช่น เนื้อเหนียว กระตุก เบคอน ไส้กรอก โฮลเกรนที่มีไฟเบอร์สูง หรือแม้กระทั่งผลไม้แข็งหรือเป็นเส้นหรือผลไม้ที่มีเปลือก