FAV – FAV A GOOD TIME –

12 ลู่วิ่งไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2021

12 ลู่วิ่งไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2021

ลู่วิ่งไฟฟ้าถือได้ว่าในยุคปัจจุบันที่ใครก็อยากมีไว้ติดบ้าน ทั้งด้วยความต้องการดูแลสุขภาพ สร้างหุ่นให้กระชับเฟิร์มตามแบบฉบับที่ต้องการแล้ว ก็ยังมีเรื่องของเวลาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แน่นอนว่าไม่ใช่บ้านทุกคนที่จะอยู่ใกล้กับฟิตเนสและหลายท่านอาจไม่มีเวลามากพอที่จะออกไปฟิตเนสหรือเดินทางไปสวนสาธารณะเพื่อวิ่งหรือออกกำลังกาย ดังนั้นหากมีลู่วิ่งไฟฟ้าสักเครื่องอยู่บ้านด้วยแล้วฟิตเนสก็แค่เอื้อม เพราะจะสามารถออกกำลังกายหรือวิ่งในเวลาไหนก็ได้ และยังสามารถจัดเวลาเพื่อสิ่งนี้ได้อีกด้วย และที่สำคัญ ไม่ต้องไม่แย่งหรือรอต่อคิวกับใคร ตอนนี้อยากมีไว้สักเครื่องแล้วใช่ไหมคะ แต่เดี๋ยวก่อนนะ เพราะลู่วิ่งไฟฟ้านั้นมีอยู่มากมายหลายแบรนด์และรุ่นด้วย ทีนี้มาดูกันว่าลู่วิ่งไฟฟ้าของคุณต้องการเป็นแบบไหน ดูจากอะไรบ้าง

วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

เลือกจากงบประมาณ

หากจะเลือกจากงบประมาณต้องบอกเลยว่า ลู่วิ่งไฟฟ้ามีตั้งแต่ราคาหลักพันจนไปถึงหลักแสน นั่นก็ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือหรือยี่ห้อด้วย ที่สำคัญก็คือถูกใจ ตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ หากราคาสูงแต่ฟังก์ชั่น การใช้งาน ความคงทน มีความครบที่เราต้องการทุกประการและเหมาะกับเรามาก ๆ ก็อย่าเสียดายที่จะจับจองเลยค่ะ เพราะมันจะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย อีกอย่างหนึ่งเพื่อความคุมค่ามากที่สุดเราควรถามผู้รู้ ผู้เชียวชาญ ให้คำแนะนำแก่เราได้ว่าการใช้งานของเราเหมาะสมกับลู่วิ่งขนาดไหน ราคาอยู่ที่เท่าไหร่ และโปรโมชั่นในช่วงนั้นๆ ด้วยว่ามีอะไรเพิ่มเติมหรือส่วนลดอะไรไหม แล้วค่อยตัดสินใจที่จะจับจองมาในบ้านด้วยกันค่ะ

เลือกจากความแรงของมอเตอร์

ในส่วนของความแรงมอเตอร์นะคะ จะขอแนะนำเพื่อนให้เลือกในแบบที่ตัวเองไว้และเหมาะสมตัวเรามากที่สุด โดยเฉพาะแรงมอเตอร์และการรับน้ำหนักของตัวลู่วิ่งไฟฟ้าเอง เพราะหากเลือกไม่เหมาะสมมากไปน้อยไป อาจส่งผลถึงกำลังในการทำงานของเครื่องได้ เช่น หากเรามีน้ำหนักที่มากแต่งบไม่ถึงจึงเลือกเครื่องที่รองรับน้ำหนักได้น้อยกว่าตัวเพราะคิดว่าเดียวน้ำหนักก็ลด อย่าคิดแบบนั้นค่ะ เพราะการลดน้ำหนักก็ใช้เวลาไม่น้อย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เครื่องเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ลองมาดูกันนะคะว่าน้ำหนักอย่างเราควรเลือกเครื่องลู่วิ่งที่มีกำลังกี่แรงม้าดี

1 แรงม้า เดินช้าและเดินเร็ว น้ำหนัก สำหรับน้ำหนัก 45-55 kg
1.5 แรงม้า เดินช้าและเดินเร็ว สำหรับน้ำหนัก 55-65 kg
2 แรงม้า วิ่ง สำหรับน้ำหนักตัว 65-80 kg
2.5 แรงม้า วิ่ง สำหรับน้ำหนัก 70-90 kg
3 แรงม้า วิ่ง สำหรับน้ำหนักที่ 80 – 100 Kg.

เลือกขนาดของลู่วิ่ง

ในการเลือกขนาดลู่ ก็ต้องดูว่าเราหาพื้นที่สำหรับวางลู่วิ่งแล้วรึยัง นอกจากความกว้างที่สำหรับจัดวางแล้ว ก็มาดูว่าขนาดตัวเรากับขนาดของลู่วิ่งเหมาะสมด้วยหรือไม่ เพราะว่าถ้าจะวิ่งให้เกิดความสบายก็จะแนะนำให้เลือกขนาดที่เหมาะสมกับตัวเรา เพื่อไม่สร้างความอึดอัดในขณะวิ่ง หรือกว้างจนเกิดเกิดความเทอะทะ อีกส่วนที่สำคัญคือความกว้างของความขาของแต่ละคนด้วยที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจะดูที่ความยาวของช่วงวิ่งด้วย ซึ่งสำหรับคนที่ขายาว อาจจะเลือกเครื่องที่มีความยาวกว่าปกติเล็กน้อยนะคะ ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย ส่วนนี้ก็อย่าคิดมากคะ เพราะสิ่งที่เราต้องการก็คือผลจากการได้วิ่ง ถ้าตัดสินใจจะเลือกลู่วิ่งสักตัวแล้ว ก็เอาเครื่องที่คุ้มค่าคู่ควรกับเรามากที่สุดจะดีที่สุดค่ะ

เลือกจากการจัดเก็บ

มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่คนต้องการลู่วิ่งไฟฟ้าแต่ยังตัดสินใจไม่ได้นั่นคือเรื่องของพื้นที่นั้นเอง เข้าใจค่ะว่าบางคนอาจมีพื้นที่จำกัด อย่างเช่นคนที่อยู่คอนโด อพาร์ทเม้น หรือบ้านที่มีพื้นที่น้อยก็ตาม แต่อย่าเพิ่งถอดใจไปนะคะ ขอนำเสนอให้เลือกลู่วิ่งที่สามารถพับเก็บได้เพื่อจะได้ลดพื้นที่ใช้สอย และก็ยังดูแลสุขภาพ ฟิตหุ่นได้อย่างที่เราตั้งเป้าหมายไว้อีกด้วยนะ ซึ่งลู่วิ่งไฟฟ้าที่สามารถพับเก็บได้นั้นก็มีให้เลือกการพับเก็บได้อยู่ ซึ่งเราสามารถศึกษาหารายละเอียดเพิ่มเติมอีกได้ หรือถ้าเราไม่ซื้อตามร้านค้าหรือห้าง อย่างไรก็แล้วแต่ จะสามารถจัดการกับตัวเครื่องหรือการจัดเก็บยังไงได้บ้าง รวมกระทั้งฟังก์ชั่นอื่นๆอีกมากมาย อาจดูยุงยาก เนื้อความเยอะสักหน่อย แต่คุ้มค่าที่จะศึกษาให้เพื่อผลประโยชน์ของเราล้วน ๆค่ะ

เลือกจากขนาดของพื้นที่ที่รองรับ

ก่อนอื่นเลยก่อนที่เราจะซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เราควรที่จะพิจารณาก่อนว่าพื้นที่ที่เราสามารถตั้งวางไว้ได้นั้น ต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่และจะจัดสรรอย่างไร หรือต้องซื้อแบบไหน อาจจะใช้สายวัดหรือตลับเมตรมาวัดก่อนได้นะคะ รวมถึงต้องเทียบกับตัวเราด้วยว่าสะดวกขนาดของการวิ่งในแบบไหนถึงจะพอดีและเหมาะสม หรือถ้ามีพื้นที่จำกัดจริงๆ ก็สามารถเลือกเป็นแบบพับก็ได้ค่ะ และอีกอย่างนั้นคือเราถือโอกาสนี้จัดบ้านใหม่ให้เข้าที่รวมถึงสร้างบรรยายกาศให้มีความเบิกบาน ผ่อนคลายอารมณ์ระหว่างการวิ่ง อาจจัดวางไว้ที่ใกล้ระเบียง ให้สามารถมองเห็นพื้นที่หรือบรรยากาศภายนอกได้ วิ่งไปด้วยสมองปล่อดโปร่งไปด้วยก็น่าสนใจดีนะคะ แต่อย่างไรก็ตามให้เน้นที่เราสะดวก และรู้สึกพึงพอใจนะคะ

เลือกจากขนาดของสายพาน

อีกสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญนั่นคือขนาดของสายพาน ยิ่งมีขนาดกว้างและยาวมากเท่าไหร่ก็ยิ่งวิ่งได้อิสระมากขึ้นเท่านั้น โดยขนาดความกว้างขั้นต่ำที่เหมาะต่อการวิ่งได้อย่างสะดวกคือ 40-45 cm ส่วนความยาวของสายพานนั้น ถ้าเป็นขนาดพื้นฐานแนะนำอยู่ที่ 120 cm แต่ก็ดูด้วยว่าความต้องการใช้งานจะเลือกใช้งานแบบไหน ถ้าเน้นเดินช้าหรือเดินเร็วก็ไม่ควรต่ำกว่า 100 cm หรือถ้าต้องการวิ่งทั่ว ๆ ไป ความยาวไม่ควรต่ำกว่า 120 cm และอย่าลืมที่บอกไปอีกส่วนคือความสูงหรือความยาวของขาเราด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยในการเลือกความยาวของสายพานเช่นกัน หากว่าสูงเกิน 180 cm อาจจะต้องใช้สายพานอย่างน้อย 130 cm สำหรับการเดินและสายพานขนาด 140 cm สำหรับการวิ่ง สายพานที่เราวิ่งนั้นเป็นตัวหลักอย่างหนึ่งที่จะสร้างความสนุกและผ่อนคลายได้ เพราะหากเลือกมาไม่ถูกกับสรีระอาจทำให้ไม่สนุกกับการวิ่งหรือออกกำลังกาย แล้วสุดท้ายลู่วิ่งไฟฟ้าที่จะเอามาสร้างสุขภาพที่แข็งแรงอาจกลายเป็นเครื่องตากผ้าแทนได้

เลือกจากความชันของลู่วิ่ง

ลู่วิ่งส่วนใหญ่จะสามารถปรับระดับความชันได้อยู่ที่ 0%-15% จากพื้น อย่างไรก็ตาม บางรุ่นก็สามารถเพิ่มความชันได้มากถึง 40% ทำให้เป็นลู่วิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโหมดการวิ่งบนเนินเขา ยิ่งสามารถปรับความชันได้มากเท่าไร่นั้นก็ยิ่งออกกำลังกายเผาผลาญไขมันได้มากเท่านั้น แต่สำหรับผู้มีปัญหาการวิ่ง เช่น ผู้สูงอายุ ข้อเข่า ข้อเท้า อักเสบ อาจจะมีปัญหาด้านการวิ่ง แนะนำให้เดินออกกำลังกายเพื่อลดแรงกระแทกนะคะ และที่อยากแนะนำเลยก็คือให้ใช้ระบบปรับความชันไฟฟ้าช่วยเพื่อในการเดินได้เผลาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น ซึ้งเทียบเท่าได้กับการวิ่งนั่นเอง การปรับความชันมี 2 แบบ แบบแรกเป็นแบบปรับมือ (Manual Incline) สามารถปรับได้ด้วยการปรับฐานล้อด้านท้ายเครื่องให้สูงหรือต่ำ เพื่อให้พื้นวิ่งเอียงตามต้องการ วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกมากนัก แต่ราคาจะประหยัดกว่า แบบที่สองเป็นแบบปรับไฟฟ้า (Auto Incline, Electric Incline) แบบนี้จะปรับขึ้น ลง ด้วยระบบไฟฟ้า เพียงแค่กดปุ่มบนหน้าจอ ระบบนี้จะสะดวก แต่ราคาก็สูงกว่าแบบปรับมือ หากอยากรูว่าเราจะสะดวกแบบไหน ลองไปฟิตเนสสักที่แล้วลองเล่นดูค่ะว่าเราชอบแบบไหนมากกว่ากัน ลองดูนะ

เลือกจากการรับแรงกระแทก

ต้องบอกเลยถ้าใครเคยวิ่งบนพื้นแข็งหรือพื้นที่ทั่วไป อาจมีบ้างที่เราจะมีอาการปวดเขาหรือปวดข้อ เท้าการรับแรกกระแทกโดยตรง รวมถึงในบางพื้นที่ ที่เป็นไปตามสภาพอาจไม่ได้ราบเรียบมากนัก การเกิดแรกกระแทกนานๆ ซ้ำ ๆ เข้า อาจไม่เกิดผลดีคะ ซึ่งอนาคตอาจทำให้มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้แน่นอน ดังนั้นในลู่วิ่งไฟฟ้าที่คุณภาพสูงจะมีฟังชั่นรับแรงกระแทกมาให้ด้วยอยู่แล้ว โดยระบบรับแรงกระแทกจะถูกติดตั้งมาให้เห็นอยู่ใต้กระดานลู่วิ่ง ส่วนการออกแบบก็มีหลายลักษณะแล้วแต่เทคโนโลยีของแต่ละแบรนด์ เช่น ระบบ Air Cushion หรือ Flex Tech Cushioning System™ โดยลักษณะจะคล้ายยางหรือลูกยางเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกระจายแรงออกไป หรือจะเป็นแบบสปริงที่ให้การโยนตัวที่มากกว่า ซึ่งแต่ละแบบก็จะนิ่มและก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตามอย่าลืมถามรายละเอียดก่อนซื้อนะคะ

เลือกจากหน้าจอและฟังก์ชันการใช้งาน

ถ้าจะกล่าวถึงในส่วนของฟังก์ชันการใช้งานบนหน้าจอแล้ว ต้องบอกว่าแต่ละเครื่องมีความหลากหลายและแต่ละแบรนด์ก็มีความแตกต่างกันไปด้วย หน้าจอนั้นก็จะมีบอกทั้งอัตราความเร็ว การบอกเวลา จำนวนการเผาผลาญหรือที่เรียกว่าแคลอรี่ นับกิโล บอกชีพจร และตัวเพิ่มความชันซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในส่วนนี้เพื่อน ๆ ก็ลองเลือกดูนะคะว่าถูกใจแบบไหน อยากได้ฟังก์ชั่นเบาๆ หรือเอาแบบจัดเต็ม เน้นความต้องการของเราเลยค่ะ

เลือกจากยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ

ต้องยอมรับว่าการแข่งขันในสมัยนี้รุนแรงและเร็วมากๆ ความน่าเชื่อถืออาจไม่ได้มาจากการครอบครองตลาดที่ยาวนานพอ แต่อาจไม่ถึงคุณภาพการผลิต และวัตถุดิบชิ้นส่วนที่ทางแบรนด์นั้น ๆ นำมาใช้ รวมถึงความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน ถ้าหากอยากมั่นใจจากความน่าเชื่อถือ แนะนำให้เพื่อนๆ ได้ศึกษามาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลู่วิ่งหรือตัวมอเตอร์ที่ใช้ มีความแข็งแรงคงทนมากแค่ไหน สายพานที่ใช้มีอายุ ความสามารถในการใช้งานหรือไม่ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ระบบหน้าจอให้ความเข้าใจในการใช้งานมากแค่ไหน ซึ่งความน่าเชื่อถือนี้ เพื่อนสามารถถามจากการรีวิวหรือ จากผู้ใช้จริงจะได้คำตอบที่ไม่อิงโฆษณามากเกินไปค่ะ และที่สำคัญรู้เขารู้เรา เราต้องมีข้อมูลก่อนซื้อค่ะ

เลือกจากการรับประกัน

ในการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าตัวใหญ่ และเป็นเทคโนโลยีชนิดหนึ่งถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ไม่มีความรู้และความสามารถในการซ่อมแซม การเลือกซื้อเครื่องที่มีการประกันสำคัญมากๆค่ะ อย่างน้อยที่สุดแล้วลู่วิ่ง ควรจะมีการรับประกัน 1-2 ปี เป็นขั้นต่ำแต่หากมากกว่านั้นก็จะดีมากสำหรับเรา ซึ่งก็ควรเลือกสินค้าที่มีประกันทุกครั้ง

12 ลู่วิ่งไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2021

ลู่วิ่งไฟฟ้า 360FITNESS รุ่น X5

เป็นอีกรุ่นที่มีขนาดมอเตอร์ถึง 4.5 แรงม้า มีความเร็วอยู่ที่ 1.5-18 km/hr ซึ่งสามารถปรับความชันได้ 3 ระดับ (4, 9 และ 15 องศา) ทำงานเงียบ มีความดังอยู่ที่เพียง 4.0 dB จอแสดงผลแบบ LED บอกระยะทางและแคลอลี่ทั้งยังกว้างพอที่จะสามารถวาง iPad ได้ พร้อมด้วยลำโพงขนาดใหญ่ สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 130 kg ง่ายต่อการจัดเก็บเพราะสามารถพับเก็บได้ ป้องกันแรงกระแทกในการจัดเก็บลู่วิ่งด้วยระบบไดนามิก

กำลังมอเตอร์ 4.5 แรงม้า
ความเร็ว 1.5-18 km/hr
ขนาดสายพาน 145 × 52 cm
รองรับน้ำหนัก 130 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า World Master Fitness รุ่น GT5

ลู่วิ่งไฟฟ้าลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีขนาดมอเตอร์ถึง 4 แรงม้า ปรับความเร็วได้ถึง 18 km/hr มีระบบซึมซับแรงกระแทกที่ใช้ Shock-Absorber จะช่วยดูดซับแรงกระแทกแบบหลายชั้น สามารถปรับความชันช่วงเอียง 1-18% มีช่องเชื่อม MP3 พร้อมกับลำโพง หน้าจอมีพัดลมในตัวที่สามารถปรับความแรงของลมได้ มีระบบป้องกัน 2 ระดับ และสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบสัมผัส

กำลังมอเตอร์ 4 แรงม้า
ความเร็ว 1 – 18 km/hr
ขนาดสายพาน 146 x 52 cm
รองรับน้ำหนัก 150 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า FIT 2 FIRM รุ่น DK-55AD

มีขนาดมอเตอร์สูงถึง 4 แรงม้า ที่ปรับความเร็วได้ตั้งแต่ 1-18 km/hr และยังปรับความชันได้ 0-18% ควบคุมการปรับระดับโดยแฮนด์จับ จึงทำง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ตัวเครื่องดูดซับแรงกระแทกดี มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ถึง 140 kg สายพานกว้างสะดวกแก่การวิ่ง สามารถพับเก็บได้ด้วยระบบ Hydraulic ทั้งยังมีระบบล็อคที่จะทำให้การเก็บปลอดภัย

กำลังมอเตอร์ 4 แรงม้า
ความเร็ว 1-18 km/hr
ขนาดสายพาน 140 cm x 55 cm
รองรับน้ำหนัก 140 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า OMA 2 แรงม้า รุ่น 5310CAI

ขนาดมอเตอร์ 2 แรงม้า ความเร็วที่ 1-16 km/hr รวมถึงปรับความชันในการวิ่งได้ 1-12% โดยมี 3 ระดับความชัน (6,9 และ 12 องศา) หน้าจอแสดงผล LCD ขนาด 5 นิ้ว แสดงไขมัน ระยะทาง เวลา แคลอรี่ พร้อมเชื่อมต่อ MP3 มีที่วาง iPad มีความแข็งแรงโดยโครงเหล็กที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 kg มีระบบความปลอดภัย safety key ในการวิ่ง และมีล้อเลื่อนสำหรับการเคลื่อนย้ายที่ง่าย

กำลังมอเตอร์ 2 แรงม้า
ความเร็ว 1-16 km/hr
ขนาดสายพาน 128.5 x 45 cm
รองรับน้ำหนัก 100 kg
พับเก็บได้ ไม่ระบุ
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า JOHNSON TEMPO รุ่น T81

มอเตอร์ขนาด 1.75 แรงม้า ความเร็วที่ 0.8-15 km/hr ปรับระดับความชันได้ที่ 0-10% โครงสร้างทำจากเหล็กที่มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ 115 kg มีระบบรองรับการกระแทก “IdealZone Cushioning System” และ “Variable Response Cushioning” สามารถวัดอัตราการเต้นหัวใจแบบ Hand Pulse มีช่องเสียบหูฟังและลำโพง นอกจากนี้ยังมีโหมดประหยัดพลังงานด้วยในตัว

กำลังมอเตอร์ 1.75 แรงม้า
ความเร็ว 0.8-15 km/hr
ขนาดสายพาน 135 x 42 cm
รองรับน้ำหนัก 115 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า JOHNSON TEMPO รุ่น T77

ขนาดมอเตอร์ 2 แรงม้า ( CHP แรงม้าแบบต่อเนื่อง) ใช้ความเร็วได้สูงสุดที่ 16 km/hr มีเซ็นเซอร์วัดความเร็วในตัว ด้วยเทคโนโลยีจากมอเตอร์ของ Johnson ทำให้สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด โดยไม่ต้องใช้แรงมาก และยังสามารถปรับความชันในการวิ่งได้ถึง 0 – 10% (ของ 180 องศา) โครงสร้างทำจากเหล็กคุณภาพดี รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 125 kg ตัวหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ 5 นิ้ว ตัวเครื่องก็พับเก็บได้ การรองรับแรงกระแทกใช้ระบบ Ariable Response Cushioning

กำลังมอเตอร์ 2 แรงม้า
ความเร็ว 0.8 – 16 km/hr
ขนาดสายพาน 46 x 135 cm
รองรับน้ำหนัก 125 kg.
พับเก็บได้ ไม่ระบุ
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า KF-FIT 3.0 แรงม้า รุ่น KF-DK32S

ขนาดมอเตอร์ 3 แรงม้า ปรับความเร็วได้ถึง 1 – 16 กม./ชม. สำหรับขนาดสายพาน (พื้นที่วิ่ง) 1260 x 420 mm และระบบโช๊คคู่ ที่มีส่วนช่วยในการลดแรงกระแทกที่ เข่า และข้อเท้า ปรับความชันของลู่วิ่งได้ที่ 0, 3 และ 5 องศา พร้อมกับหน้าจอ LCD ที่แสดงข้อมูลต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Bluetooth รองรับการเล่นเพลง MP3 ผ่านมือถือได้ ตัวเครื่องจะมีปุ่ม Safety Key สำหรับหยุดฉุกเฉินเพื่อป้องกันอันตราย สามารถพับเก็บได้ง่ายมาก ด้วยระบบ Hydraulic Folding มีล้อเลื่อน สามารถเก็บได้อย่างง่าย

กำลังมอเตอร์ 3 แรงม้า
ความเร็ว 1 – 16 กม./ชม.
ขนาดสายพาน 126 x 42 cm.
รองรับน้ำหนัก 110 กิโลกรัม
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า Toughman 3 แรงม้า

มอเตอร์ขนาด 3 แรงม้า ทำความเร็วได้ 0.8-15 กิโลเมตร/ชั่วโมงครับ มีหน้าจอการทำงานแบบ LCD 5 นิ้ว มีช่องเชื่อมต่อลำโพงผ่าน USB และ AUX มีที่วางโทรศัพท์และขวดน้ำ สามารถปรับความชันไฟฟ้า 15 ระดับ ได้จากที่พักแขน สามารถใช้งานง่าย พับเก็บแสนสะดวก ด้วยระบบฮโดรลิค ระบบ Safty Key ที่จะทำการหยุดเครื่องโดยทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

กำลังมอเตอร์ 3 แรงม้า
ความเร็ว 0.8 – 15.0 km/hr
ขนาดสายพาน 130 x 45 cm.
รองรับน้ำหนัก 125 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า FITEX R500

มอเตอร์ขนาด 4 แรงม้า และเร่งความเร็วได้มากถึง 18 km/hr มีระบบโช๊ค ที่ช่วยให้การวิ่งนุ่มมากยิ่งขึ้น มีรับแรงกระแทกขณะวิ่ง 6 จุด ที่จะช่วยในการลดปัญหาข้อเข่าเสื่อม จากการกระทบกระเทือนได้ มีหน้า LCD ขนาด 5.5 นิ้ว แสดงหน้าจอความเร็ว ระยะทาง แคลอรี่ เวลา และระดับของชีพจร เชื่อมต่อกับมือถือ IOS และ Andriod ฟังเพลง MP3 จากมือถือ และ USB ได้ มีระบบการป้องกันแรงกระแทกด้วยระบบไฮดรอลิก มีล้อเลื่อน ช่วยในเรื่องเคลื่อนย้ายได้ง่าย

กำลังมอเตอร์ 4 แรงม้า
ความเร็ว 1 – 18 กม./ชม.
ขนาดสายพาน 135 x 48 cm.
รองรับน้ำหนัก 140 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า POWER REFORM 3 แรงม้า รุ่น PANTHER

ขนาดมอเตอร์ 3 แรงม้า ที่ความเร็วในการวิ่ง 1 – 16 km/hr สามารถปรับความชันอัตโนมัติ 18 ระดับ มีโช้คคู่รับแรงกระแทกที่เข่าและข้อเท้า 6-Level Shock Absorption เชื่อมต่อกับ MP3 และ USB หน้าจอ LCD แสดงข้อมูลครบถ้วน สามารถวัดชีพจรด้วยระบบสัมผัส Hand Pulse Monitoring มี Safety Key หยุดเครื่องฉุกเฉิน ป้องกันอันตรายจากการใช้งาน พับเก็บได้ ด้วยระบบไฮโดรลิก Hydraulic Folding มีล้อเลื่อน สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายง่าย

กำลังมอเตอร์ 3 แรงม้า
ความเร็ว 1 – 16 กม./ชม.
ขนาดสายพาน 123 x 42 cm.
รองรับน้ำหนัก 110 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า TV Direct 2 แรงม้า รุ่น TA07

ลู่วิ่งไฟฟ้าที่กำลังมอเตอร์ 2 แรงม้า ในความเร็วที่ 0.8-12 km./hr และสามารถปรับความชันได้ถึง 3 ระดับ หรือ 16 อาศา พร้อมเครื่องสั่นสลายไขมันที่มีผลต่อการเผาผลาญได้ดี มีหน้าจอ LED ลำโพง ช่องเสียบ AUX, USB, MP3 และที่วัดชีพจร ทดต่อแรงกระแทกสูง โครงสร้างจากเหล็กอย่างดี รับน้ำนหักได้ 100 กิโลกรัม และที่สำคัญสามารถพับเก็บได้โดยมีล้อลากในตัว

กำลังมอเตอร์ 2 แรงม้า
ความเร็ว 0.8-12 km/hr
ขนาดสายพาน 110 x 40 cm
รองรับน้ำหนัก 100 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน 1 ปี

ลู่วิ่งไฟฟ้า Van Burgh รุ่น VB8019

ขนาดมอเตอร์ 2 แรงม้า ด้วยความเร็ว 1-12 km/hr ตัวเครื่องมีความแข็งแรงทนทาน โดยใช้วัสดุอย่างดี สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 90 kg จอแสดงผลเป็นจอ LED ที่ใช้งานง่าย ออกแบบดูดซับแรงกระแทกจากการวิ่งได้อย่างดี ทำงานเงียบไร้เสียงรบกวน มี safety key หยุดฉุกเฉิน ที่สำคุญสามารถพับเก็บได้ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ

กำลังมอเตอร์ 2 แรงม้า
ความเร็ว 1-12 km/hr
ขนาดสายพาน 110 x 40 cm
รองรับน้ำหนัก 90 kg
พับเก็บได้
การรับประกัน ไม่ระบุ

สุกท้ายเป็นอย่างไรบ้างคะ แต่ละรุ่นพอมีสักตัวไหมคะที่ถูกอกถูกใจกัน ก่อนจบขอแนะนำการวิ่งบนลู่ของ นักวิ่งมือใหม่เล็กน้อยนะคะ อย่างแรกวอมอัพกันก่อนนะคะ โดยเฉพาะการอุ่นข้อเท้า และยืดเส้นยืดสายสักหน่อย เมื่อขึ้นไปบนลู่ ควรเริ่มจากการเดินช้า ๆ ก่อนและค่อยปรับระดับความเร็วเป็นวิ่ง อาจจะเพิ่มความชันสัก 1-2 ระดับ เพื่อเป็นแรงต้านแทนลมธรรมชาติเพราะเราวิ่งในที่ร่ม พอเริ่มคุ้นชินแล้วค่อยปรับความชันขึ้นได้ ระหว่างวิ่งควรมองตรงไปข้างหน้า และพยายามไม่จับราวข้างนะคะ พอวิ่งไปซักพักแล้วต้องการเลิกแล้ว ควรคูลดาวน์โดยการลดอัตราความเร็วลงหรือสามารถกดปุ่มคลูดาวน์ได้ค่ะ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้ความรู้และข้อมูลที่ต้องการกันนะคะ

Exit mobile version