IMG BY : sanook
ถ้าให้เลือกทานขนมได้หนึ่งอย่างเชื่อว่าของโปรดของใครหลายคน คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจาก เบเกอรี่ต่างๆอย่างเช่น ครัวซองต์ ขนมเค้ก และ บราวนี่ เพราะหาทานได้ง่าย จึงไม่แปลกที่ขนมไทยโบราณ ซึ่งได้ชื่อว่า รูปงาม นามเพราะ จะค่อยๆเลือนหายจากสังคมไทย ดังนัันเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป fav a goodtime เลยขอใช้โอกาสนี้พาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 9 ขนมไทยโบราณ โดยแต่ละเมนูนั้นล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มาพร้อมกับรสชาติหวานละมุนลิ้น ไม่แพ้ขนมต่างประเทศ
สารบัญ
ขนมกระเช้าสีดา
ขนมไทยโบราณมีต้นกำเนิดมาจาก ต้นกระเช้าสีดา ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ เนื่องด้วยตัวของขนมทำมาจากแป้ง มีรูปทรงคล้ายกระเช้า ส่วนไส้ขนมมาจากมะพร้าวแก้วหลากสี หรือบางสูตรอาจมีการตกแต่งหน้าเพิ่มด้วยดอกไม้ เพื่อให้ขนมดูสวยงาม และ น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันหาทานได้ยาก เพราะต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจงในระดับหนึ่ง
จุดเด่นของขนมกระเช้าสีดา
- ขนมไทยโบราณ ชื่อของขนมมาจาก ต้นกระเช้าสีดา ในวรรณคดีไทยเรื่อง รามเกียรติ์
- ตัวของขนมทำมาจากแป้ง รูปทรงโดดเด่น สวยงาม คล้ายกระเช้า
- ไส้ขนมทำมาจากมะพร้าวแก้ว สีสันสวยงาม หวาน หอม ชวนรับประทาน
- บางสูตรอาจมีการตกแต่งเพิ่มด้วยดอกไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ชวนรับประทานมากยิ่งขึ้น
- สะท้อนให้เห็นถึงความประณีต และความละเมียดละไมในการใช้ชีวิตของคนในสมัยก่อน
ข้อเสียของขนมกระเช้าสีดา
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือ และความประณีตบรรจง
- ควรบริโภคแต่น้อย เนื่องจากมีส่วนผสมของ แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนมกระเช้าสีดา
ต้นกำเนิด | ชื่อของขนมมาจากต้นกระเช้าสีดา ในวรรณคดีไทยเรื่อง รามเกียรติ์ |
---|---|
ส่วนผสมของตัวกระเช้า | แป้งสาลีอเนกประสงค์/เนยขาว/เนยสดชนิดเค็ม/น้ำเปล่า/ ดอกไม้สำหรับตกแต่ง(มีหรือไม่มีก็ได้) |
ส่วนผสมของไส้มะพร้าวแก้ว | มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น/น้ำตาลทราย/น้ำดอกมะลิ/สีผสมอาหารตามชอบ |
วิธีการเก็บรักษา | หลังปรุงเสร็จ ควรเก็บไว้ในที่มิดชิด ใช้ภาชนะที่มีฝาปิด หากรับประทานเหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น |
ขนมบุหลันดั้นเมฆ
IMG BY : pholfoodmafia
ถือเป็นขนมไทยโบราณที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน หรือหลายๆคนอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยก็ว่าได้ สำหรับ บุหลันดั้นเมฆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก บุหลันเลื่อนลอย บทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 โดยคำว่าบุหลัน มีความหมายว่า ดวงจันทร์ จึงทำให้ตัวขนมมีลักษณะคล้ายก้อนเมฆลอยอยู่เหนือดวงจันทร์ และมีชื่อไพเราะเสนาะหูมาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งงยังถูกนำมาใช้เป็นขนมเสี่ยงทายหน้าที่การงานของคนในวังสมัยก่อนด้วย
จุดเด่นของขนมบุหลันดั้นเมฆ
- ขนมไทยโบราณได้รับแรงบันดาลใจมากจาก บุหลันเลื่อนลอย หรือ บุหลันลอยฟ้า บบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
- ขนมไทยโบราณคิดค้นสูตรมาจากชาววังในสมัยรัชกาลที่2
- ตัวของขนมมีลักษณะคล้ายก้อนเมฆ ซึ่งเกิดจากสีของน้ำดอกอัญชัน แต่งแต้มด้วยสีเหลืองของไข่แดง
- ชื่อไพเราะเสนาะหู สีสันสวยงาม ชวนรับประทาน
- ได้ชื่อว่าเป็นขนมเสี่ยงทายในเรื่องหน้าที่การงานของคนในวังสมัยก่อน
- สะท้อนให้เห็นถึงความประณีต และความละเมียดละไมในการใช้ชีวิตของคนในสมัยก่อน
ข้อเสียของขนมบุหลันดั้นเมฆ
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจง
- ควรบริโภคแต่น้อย เนื่องจากมีส่วนผสมหลักมาจากแป้ง จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนม บุหลันดั้นเมฆ
ต้นกำเนิด | บุหลันเลื่อนลอย หรือีกชื่อ บุหลันลอยฟ้า บทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 |
---|---|
ส่วนผสม | แป้งข้าวเจ้า/แป้งเท้ายายม่อน/น้ำเปล่า/น้ำดอกอัญชัญ/น้ำตาลทราย/ไข่ไก่(ใช้เฉพาะไข่แดง)/กะทิ/กลิ่นมะลิ |
วิธีการเก็บรักษา | หลังปรุงเสร็จ ควรเก็บไว้ในที่มิดชิด ใช้ภาชนะที่มีฝาปิด หากรับประทานเหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น |
แหล่งช้อป | https://www.facebook.com/sane.workshop/ |
ขนมจ่ามงกุฎ
อีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างยาวยาวนานในสังคมไทยก็คือ ขนมจ่ามงกุฎ ที่ในอดีตถูกจัดให้เป็น เครื่องสำหรับเสวยของพระเจ้าแผ่นดิน ตัวขนมมีสีเหลืองทองอร่ามรูปทรงสวยงามคล้ายมงกุฎ จึงทำให้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในขนมไทยที่มีชื่องาม นามเพราะ และมีความหมายที่ดี ปัจจุบันแม้จะหาทานได้ยาก แต่ก็ยังพอมีโอกาสพบเห็นกันอยู่บ้างในงานมงคลต่างๆอย่าง งานแต่ง หรือ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
จุดเด่นของขนมจ่ามงกุฎ
- ในสมัยก่อนถูกจัดให้เป็นเครื่องสำหรับเสวยของพระเจ้าแผ่นดิน
- ตัวขนมมีสีเหลืองทองอร่าม รูปทรงสวยงามคล้ายมงกุฎ
- ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
- ได้ชื่อว่าเป็นขนมไทยโบราณที่มีรูปงาม นามเพราะ และความหมายดี โดยคำว่ามงกุฎแปลว่า หัวหน้าสูงสุด จึงนิยมมอบเป็นของขวัญเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
- ปัจจุบันถูกยกให้เป็น หนึ่งในขนมมงคล สำหรับพิธีสำคัญอย่าง งานแต่ง และงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ข้อเสียของขนมจ่ามงกุฎ
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจง
- ควรบริโภคแต่น้อย เนื่องจากมีส่วนผสมของแป้ง กะทิและน้ำตาล จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนมจ่ามงกุฎ
ต้นกำเนิด | สมัยรัชกาลที่2 |
---|---|
ส่วนผสม | แป้งข้าวเหนียว/กะทิ/น้ำตาลทราย /น้ำใบเตย/เมล็ดแตงโม |
วิธีการเก็บรักษา | สามารถเก็บในอุณหภูมิปกติได้ประมาณ 5-7วัน |
ขนมเรไรหรือขนมรังไร
ขนมเรไร หรือ ขนมรังไร คือหนึ่งในขนมไทยโบราณที่ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตัวของขนมทำมาจากแป้งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆพันกันคล้ายรังนกหลากสี โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดฝอย งาคั่ว ก่อนราดน้ำกะทิ ทานง่าย ชิ้นเล็กพอดีคำ หอม หวานมัน กำลังดี แต่ด้วยขั้นตอนที่พิถีพิถันโดยเฉพาะการนวดแป้งและไม่ควรเก็บขนมค้างคืน จึงหาทานยาก เพราะไม่นิยมทำขายเหมือนขนมไทยสมัยใหม่
จุดเด่นของขนมเรไรหรือขนมรังไร
- ขนมไทยโบราณปรากฏอยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
- ตัวขนมทำมาจากแป้ง มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆคล้ายรังนกพันกัน
- มีให้ลิ้มรสหลายสี โดยสีที่ได้มีทั้งที่หาได้ตามธรรมชาติ และสีสังเคราะห์
- โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น งาคั่ว และราดด้วยน้ำกะทิ
- ชิ้นเล็กพอดีคำ หอม หวานมัน กำลังดี
ข้อเสียของขนมเรไรหรือขนมรังไร
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจงโดยเฉพาะการทำเส้นขนม
- ควรบริโภคแต่น้อย เนื่องจากมีส่วนผสมของแป้ง และ กะทิ จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนมเรไรหรือขนมรังไร
ต้นกำเนิด | สมัยรัชกาลที่2 |
---|---|
ส่วนผสมของตัวขนม | แป้งข้าวเจ้า/แป้งเท้ายายม่อน/น้ำลอยดอกมะลิ/กะทิ/น้ำใบเตย/น้ำดอกอัญชัน/มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น /สีผสมอาหารตามชอบหรือสีที่หาได้จากธรรมชาติ |
ส่วนผสมของยอดหน้ากะทิ | กะทิ/น้ำเปล่า/เกลือ/แป้งข้าวเจ้า |
ส่วนผสมน้ำตาลโรยหน้าขนม | น้ำตาลทราย/งาขาว |
วิธีเก็บรักษา | ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน |
ขนมพระพาย
IMG BY :pholfoodmafia
พามารู้จักขนมไทยโบราณที่ถูกจัดให้เป็นขนมมงคลสำหรับพิธีแต่งงานในสมัยโบราณอย่าง ขนมพระพาย เนื่องด้วยมีความเชื่อว่า ตัวของขนมซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเหนียว และไส้ขนมที่มีรสชาติ หอมหวาน เปรียบเสมือนตัวแทนความรักอันเหนียวแน่น มั่นคง ความสุขสมหวังหลังแต่ง ของคู่บ่าวสาว แต่ปัจจุบันผู้คนเน้นความสะดวกเป็นหลัก จึงทำให้ขนมชนิดนี้แทบจะเลือนหายจนเกือบถูกลืมไปตามกาลเวลา
จุดเด่นของขนมพระพาย
- ขนมไทยโบราณนิยมใช้เป็นขนมมงคลในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ
- ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว แสดงถึงความรักอันเหนียวแน่น มั่นคง ของคู่บ่าวสาว
- ไส้ของขนมทำมามาจากถั่วกวน ให้รสชาติหอมหวาน เปรียบเสมือนความสุขแสนหวานของชีวิตหลังแต่งงาน
- มีให้ลิ้มรสหลายสี หอม หวาน ชวนรับประทาน
ข้อเสียของขนมพระพาย
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจง
- ไม่นิยมทำขาย เนื่องจากหากเก็บขนมไว้ค้างคืน แป้งจะแข็งตัว ทำให้เสียรสชาติ
รายละเอียดของขนมพระพาย
ต้นกำเนิด | ไม่ได้ระบุ แต่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณโดยเฉพาะภาคกลาง |
---|---|
ส่วนผสมของตัวขนม | แป้งข้าวเหนียว/กะทิ/|น้ำใบเตย/น้ำดอกอัญชัญ หรือสีผสมอาหารตามชอบ |
ส่วนผสมของไส้ขนม | ถั่วเขียวเราะเปือก/กะทิ/น้ำตาลทราย |
ส่วนผสมกะทิราดหน้า | กะทิ/แป้งข้าวเจ้า/เกลือ |
วิธีเก็บรักษา | ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน หรือหากรับประทานเหลือ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เนื่องจากมีส่วนผสมของกะทิซึ่งเสียได้ง่าย |
แหล่งช้อป | https://www.facebook.com/chercheeva |
ขนมหม้อตาล
IMG BY : tvpoolonline
สำหรับขนมหม้อตาล หรือ ขนมหม้อเงิน หม้อทอง จัดเป็นหนึ่งในขนมไทยโบราณที่ถูกนำไปใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ เหตุเพราะชื่อของขนมสื่อถึงความ ร่ำรวย มีเงินเหลือกินเหลือใช้ ส่วนตัวของขนมมีรูปทรงคล้ายหม้อใบจิ๋วหลากสี ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำตาลให้รสชาติ หอมหวาน ละมุนลิ้น ดั่งความรัก อันหวานชื่นไม่มีเสื่อมคลาย
จุดเด่นของขนมหม้อตาล
- ขนมไทยโบราณนิยมนำมาใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ
- คนโบราณเรียกว่า ขนมหม้อเงิน หม้อทอง สื่อความหมายถึง ความร่ำรวย มีเงินเหลือกินเหลือใช้
- ตัวขนมมีรูปทรงคล้ายหม้อใบจิ๋วหลากสี ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำตาลหลากสีสัน เปรียบเสมือนความรักอันหวานชื่นไม่เสื่อมคลาย
- สีสันสวยงาม หอมหวาน ละมุนลิ้น ชวนรับประทาน
ข้อเสียของขนมหม้อตาล
- ในปัจจุบันหาทานได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยทั้งฝีมือและความประณีตบรรจง
- ควรบริโภคแต่น้อยเนื่องจากมีส่วนผสมของแป้ง และ น้ำตาล จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนมหม้อตาล
ต้นกำเนิด | ไม่ระบุ แต่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณ |
---|---|
ส่วนผสม | แป้งสาลีอเนกประสงค์/แป้งเท้ายายม่อน/ไข่ไก่ (ใช้เฉพาะไข่แดง)/เกลือ/น้ำเปล่า |
ส่วนผสมสำหรับหยอดใส่แป้ง | กะทิ/น้ำตาลทราย/สีผสมอาหาร |
วิธีเก็บรักษา | สามารถเก็บในอุณหภูมิปกติได้ประมาณ 7-14 วัน |
แหล่งช้อป | https://www.facebook.com/pages/category/Food—Beverage/ขนมหม้อตาล-215181506017298/ |
ขนมหยกมณี
IMG BY : cooking.kapook
ตามมาย้อนยุคกันต่อด้วย หยกมณี ขนมไทยโบราณที่มีส่วนผสมหลักมาจากสิ่งใกล้ตัวอย่าง สาคู และ น้ำใบเตย จึงทำให้ตัวขนมออกมามีสีเขียวคล้ายหยก นิยมทานคู่กับมะพร้าทึนทึกขูดเส้น ให้รสชาติหวานมัน เค็ม ในทุกคำ ไม่เพียงเท่านั้นชื่อของขนมยังมีความหมายว่า อัญมณีสีเขียว อีกด้วย แต่เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประกอบการหาทานได้ยาก สีของขนมเลยมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ตามความชอบส่วนตัว
จุดเด่นของขนมหยกมณี
- ขนมไทยโบราณ มีส่วนผสมหลักมาจาก สาคู และน้ำใบเตย ตัวของขนมมีสีเขียวคล้ายหยก
- ชื่อของขนม มีความหมายว่า อัญมณีสีเขียว จึงได้ชื่อว่าเป็นขนมที่ทั้งนามเพราะและมีรสเลิศ
- นิยมทานคู่กับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น ให้รสชาติ หอม หวานมัน เค็ม ในทุกคำ
ข้อเสียของขนมหยกมณี
- ปัจจุบันหาทานได้ยาก แต่มีขั้นตอนที่ง่ายกว่าขนมไทยโบราณชนิดอื่น ในปัจจุบันจึงมีสีอื่นเพิ่มเติมเข้ามาตามความชอบส่วนตัว
- หากรับประทานเหลือควรแยกมะพร้าวออก เนื่องจากมะพร้าวจัดเป็นของที่เสียได้ง่าย
รายละเอียดของขนมหยกมณี
ต้นกำเนิด | ไม่ระบุ |
---|---|
ส่วนผสมหลัก | สาคู/น้ำใบเตย/มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น/น้ำใบเตย/เกลือ |
วิธีเก็บรักษา | ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน หรือหากรับประทานเหลือควรแยกมะพร้าวออกก่อนนำไปไว้ในตู้เย็น |
แหล่งช้อป | https://www.rin.co.th/product/หยกมณี/ |
ขนมเกสรชมพู่
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าคือ ข้าวเหนียวแก้ว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ตัวของขนมทำมาจาก มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น ส่วนที่เรียกว่า ขนมเกสรชมพู่ ก็เพราะสีของขนมสดใส สวยงาม เหมือกับเกสดอกไม้ที่ร่วงโรยอยู่ใต้ต้นชมพู่ โดยรวมจัดว่าเป็นหนึ่งในขนมไทยโบราณที่น่าลิ้มลองอย่างยิ่ง
จุดเด่นของขนมเกสรชมพู่
- ขนมไทยโบราณ มีลักษณะคล้ายข้าวเหนียวแก้ว ต่างกันที่ตัวขนม ทำมาจากมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น
- ชื่อของขนมมาจากสีสันที่สดใส สวยงาม คล้ายเกสรดอกไม้ที่ร่วงโรยอยู่ใต้ต้นชมพู่
- กลิ่นหอม หวานมัน ละมุนลิ้น ชวนรับประทาน
ข้อเสียของขนมเกสรชมพู่
- ในปัจจุบันหาทานได้ยาก อาจเพราะคนส่วนใหญ่นิยมทานข้าวเหนียวแก้วมากกว่า เนื่องจากตัวของขนมมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
- ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน เนื่องจากมะพร้าวเป็นของที่เสียได้ง่าย
รายละเอียดของขนมเกสรชมพู่
ตันกำเนิด | มีการคาดเดาว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่ไทยติดต่อการค้ากับจีน |
---|---|
ส่วนผสม | มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น/น้ำตาลทราย/วุ้นผง/น้ำลอยดอกมะลิ/สีผสมอาหารสีชมพู/งาคั่ว |
วิธีเก็บรักษา | ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน หรือหากรับประทานเหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น |
ขนมตะลุ่ม
IMG BY : wongnai
ฟังแค่ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก แต่ถ้าบอกว่าหน้าตาของขนมมีความคล้ายคลึงกับขนมถ้วย ตะไล หรือ ขนมสังขยา ในปัจจุบัน คงพอจะช่วยให้นึกอออกกันขึ้นมาบ้าง เพียงแต่ว่าส่วนผสมในการทำขนมนั้นต่างกัน เริ่มจากตัวขนมทำมาจากแป้งเป็นหลักผสมกับน้ำปูนใส หางกะทิ น้ำลอยดอกมะลิ ก่อนปรุงหน้าด้วย กะทิ ไข่ และน้ำตาล จนกลายเป็นขนมเนื้อเนียนนุ่มที่ตัดกับความเค็มของกะทิได้อย่างลงตัว
จุดเด่นของขนมตะลุ่ม
- ขนมไทยโบราณ มีลักษณะคล้าย ขนมถ้วย ตะไล หรือ ขนมสังขยาในปัจจุบัน
- ตัวของขนมทำมาจากแป้งเป็นหลักผสมกับน้ำปูนใส มีเนื้อสัมผัสเนียนนุ่ม
- หน้าของขนมทำมาจากกะทิ ไข่ และ น้ำตาล ให้ความมันและเค็มเล็กน้อย
ข้อเสียของขนมตะลุ่ม
- ในปัจจุบันหาทานได้ยาก อาจเพราะคนส่วนใหญ่หันมาทาน ขนมถ้วย หรือ สังขยา มากกว่า
- ควรบริโภคแต่น้อย เนื่องจากมีส่วนของ แป้ง กะทิ และ น้ำตาล จึงอาจทำให้อ้วนได้ง่าย
รายละเอียดของขนมตะลุ่ม
ต้นกำเนิด | ไม่ระบุ |
---|---|
ส่วนผสมของตัวขนม | แป้งข้าวเจ้า / แป้งมันสำปะหลัง/แป้งเท้ายายม่อน/เกลือ/หางกะทิ/น้ำปูนใส/น้ำลอยดอกมะลิ |
ส่วนผสมของหน้ากะทิ | ไข่เป็ด/น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปิ๊บ/ใบเตย/กะทิ |
วิธีเก็บรักษา | ควรรับประทานให้หมดแบบวันต่อวัน หรือหากรับประทานเหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น |
พอจะสนใจในตัว ขนมไทยโบราณขึ้นมากันบ้างหรือยัง? เห็นไหมว่า ขนมทั้ง 9 อย่าง ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้เพียงแค่มีรูปทรงที่สวยงาม หรือชื่อที่ไพเราะเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับประเพณีต่างๆโดยเฉพาะงานมงคลมาอย่างยาวนานด้วย เพราะฉะนั้นหากมีโอกาสก็อยากให้ลองหามารับประทานกันดู ก่อนที่ทุกอย่างจะกลายเป็นเพียงตำนาน ทั้งที่ความจริงแล้วมีคุณค่ามากกว่านั้น